KPI Dashboard

KPI Dashboard

KPI Dashboard KPI Dashboard (Key Performance Indicators) KPI หมายถึง ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ ประเมินผลออกมาในรูปแบบแสดงปริมาณ/ จำนวน/ ตัวเลขที่ชัดเจน เพื่อชี้วัดคุณค่าของบริษัท หรือ พนักงาน ว่ามีศักยภาพ หรือ ประสบความสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ ส่วน Dashboard เป็นเครื่องมือที่ช่วยผู้บริหารสามารถติดตามผลการดำเนินงานทั้งระดับหน่วยงาน และระดับบุคคลได้ผ่านทางออนไลน์ รวมถึงสามารถมองเห็นประสิทธิภาพในภาพรวมของบริษัทได้ วัตถุประสงค์หลักของการใช้ KPI Dashboards เพื่อต้องการสรุปข้อมูลทุกอย่างให้อยู่ในหน้าจอเดียว เพื่อให้ผู้บริหารดูข้อมูลแล้วเข้าใจได้ทันที ด้วยการรวบรวม (collecting) จัดกลุ่ม (grouping) จัดระเบียบ (organizing) และแสดงตัวชี้วัดที่สำคัญของบริษัท สามารถแสดงประสิทธิภาพของ KPI ที่สำคัญ และมุมมองเชิงเปรียบเทียบของ KPI หรือ บริษัทอื่นๆ ได้อีกด้วย สำหรับเครื่องมือที่นิยมใช้ทำ เช่น Power BI ถือว่าเป็นเครื่องมือยอดนิยมเป็นอันดับ 1 เนื่องจาก Microsoft ให้ Download ฟรี…

มาตรา 26 e-Signature

มาตรา 26 e-Signature

มาตรา 26 e-Signature ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ (ตามมาตรา 26) หรือ มาตรา 26 e-Signature ในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น จำเป็นต้องมีการลงลายชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อแสดงเจตนาตกลงยอมรับเกี่ยวกับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ อันจะนำมาซึ่งผูกพันทางกฎหมายระหว่างกัน  การเลือกใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ และเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสร้าง หรือ ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ จะช่วยจัดการความเสี่ยง หรือ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้จากการที่ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ จะไม่เป็นที่ยอมรับ เช่น การปฏิเสธความรับผิด หรือข้อมูลไม่มีความครบถ้วน เป็นต้น “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้” หมายถึง ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในมาตรา 26 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 โดยมีลักษณะ ดังนี้ 1. ข้อมูลที่ใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เชื่อมโยงไปยังเจ้าของลายมือชื่อโดยไม่เชื่อมโยงไปยังบุคคลอื่น 2. ข้อมูลที่ใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ อยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าของลายมือชื่อโดยไม่มีการควบคุมของบุคคลอื่น 3. สามารถจะตรวจพบการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดแก่ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ นับแต่เวลาที่ได้สร้างขึ้นได้ และ 4. ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การลงลายมือชื่อเป็นไปเพื่อรับรองความครบถ้วน และไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความ สามารถจะตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของข้อความได้ นับแต่เวลาที่ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างของรูปแบบของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ เช่น ลายมือชื่อดิจิทัลที่อาศัยโครงสร้างพื้นฐานกุญแจสาธารณะ (Public Key…

KPI Key Performance Indicator

KPI คือ “ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ” เป็นตัววัดคุณค่าที่ประเมินผลออกมาเป็นตัวเลข/จำนวน/ปริมาณได้ชัดเจนและแสดงให้เห็นว่าบริษัทหรือพนักงานนั้นมีศักยภาพเพียงไร หรือประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ซึ่งการทำสามารถใช้เครื่องมือ Power BI ในการทำได้อย่างรวดเร็ว และ ประหยัดค่าใช้ง่ายเนื่องจากเป็น License แบบฟรีอีกด้วย KPI ที่ดีควรเป็นอย่างไร อย่างแรกคือ ต้องเข้าใจว่า ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ ไม่ใช่รายงานประจำวัน ข้อมูลที่นำมาแสดงต้อง น้อย และไม่สับสน แสดงเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน ส่วนในเรื่องข้อมูลดิบในการทำงานและเป็นต้นทางของข้อมูลนั้นไม่จำเป็นต้องนำมาเสนอในระดับ Dashboard การกำหนด ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ ควรมีผลต่อผลตอบแทนพนักงาน จะช่วยให้พนักงานใส่ใจในเป้าหมายมากขึ้น ต้องวัดได้ บางเรื่องถ้าวัดไม่ได้ไม่ควรเอามาเป็นเป้าหมาย เพราะจะทำให้สับสน เป้าหมายในทุกระดับชั้นควรมีความสัมพันธ์กัน จะทำให้ทุกระดับในการทำงานมีเป้าหมายการทำงานที่สอดคล้อง ตัวอย่างรูปแบบดัชนีชี้วัดความสำเร็จของแต่ละแผนก จะมีหัวข้อที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับภาระกิจของแต่ละแผนก แผนกขาย หรือ การตลาด มูลค่ายอดขาย จำนวนสินค้า (ชิ้น/ประเภท) จำนวนรายของลูกค้าใหม่ จำนวนรายของลูกค้าใหม่ที่เข้าเยี่ยม ฝ่ายผลิต % Combined Yield % Reject % Rework % Reprocess…

พฤติกรรม Work From Home

พฤติกรรม Work From Home

ปรับ พฤติกรรม Work From Home ลดความเสี่ยง Office Syndrome ภายใต้สถานการณ์การระบาดรอบใหม่ของโควิด-19 ทำให้องค์กรส่วนใหญ่กลับทำงานในรูปแบบ Work From Home (WFH) อีกครั้ง ความแตกต่างของการ WFH ครั้งนี้ คือ ทุกคนล้วนได้เรียนรู้ที่จะปรับตัวกับวิถี New Normal และยังได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ พฤติกรรม Work From Home กันมากขึ้น ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นโรคที่พบบ่อยในวัยทำงาน หรือ พนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานในท่าเดิมนานๆ ไม่ว่าจะเป็น การนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน หรือ การนั่งโต๊ะทำงานติดต่อกันหลายชั่วโมง จึงมักเกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่ ยิ่งอยู่ในช่วง WFH ที่มีสภาพแวดล้อมภายในบ้านจำกัด ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นออฟฟิศซินโดรม มากกว่าการทำงานที่ออฟฟิศมากขึ้นอีกด้วย Fusion Solution จึงได้รวบรวมวิธี การปรับพฤติกรรม Work From Home ลดความเสี่ยง…

AI with Microsoft 365

AI with Microsoft 365 AI คืออะไร ปัญญาประดิษฐ์ คือเครื่องจักร (machine) ที่มีฟังก์ชันทีมีความสามารถในการทำความเข้าใจ เรียนรู้องค์ความรู้ต่างๆ อาทิเช่น การรับรู้ การเรียนรู้ การให้เหตุผล และการแก้ปัญหาต่างๆ เครื่องจักรที่มีความสามารถเหล่านี้ก็ถือว่าเป็น ปัญญาประดิษฐ์ นั่นเอง และในปัจจุบันเราสามารถนำเอาระบบ มาใช้ได้อย่างง่าย ๆ โดยไม่ต้องลงทุนมากมายอะไร เพราะไม่ต้องลงทุน ซื้อ Hardware หรือ Software license ราคาแพง ๆ แต่เป็นลักษณะการเช่าใช้งาน เป็นครั้ง ๆ ไปเท่านั้นเอง สำหรับเนื้อหาการนำไปใช้งานสามารถเรียนรู้ได้จาก Clip การใช้ AI แปลงภาพเป็นตัวอักษร ที่ทางบริษัท fusion ได้เตรียมไว้ครับตัวอย่างที่นำเสนอเป็นการสร้าง AI จากเครื่องมือ Power Automate ของ Microsoft 365 ดังนั้นการเรียนรู้ การนำมาใช้งานจึงเป็นหัวข้อที่ผู้ทำงานต้องให้ความสำคัญในการเรียนรู้ Microsoft 365 มี…

มาตรา 9 e-Signature

มาตรา 9 e-Signature

มาตรา 9 e-Signature ปัจจุบันทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างก็มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความสะดวก รวดเร็วมาใช้ในการทำธุรกรรมและการให้บริการประชาชนมากขึ้นประกอบกับได้มี พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ออกมารองรับการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้มีผลทางกฎหมายเช่นเดียวกับการลงลายมือชื่อบนเอกสารกระดาษ ดังนั้น การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จึงมีความสำคัญ และจำเป็นต่อการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างยิ่ง สิ่งสำคัญของการลงลายมือชื่อทั้งที่ลงบนเอกสารกระดาษหรือลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ก็คือ การทำให้เกิดหลักฐานที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ และสามารถแสดงเจตนาของเจ้าของลายมือชื่อเกี่ยวกับข้อความที่ตนเองลงลายมือชื่อได้ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ไม่ได้กำหนดเทคโนโลยีที่ใช้ในการลงลายมือชื่ออย่างเฉพาะเจาะจง ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จึงมีความเป็นกลางทางเทคโนโลยี (technology neutrality) และสามารถสร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ ก็ได้ หากลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นมีคุณสมบัติเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดซึ่งลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปมีการกำหนดไว้ตาม มาตรา 9 e-Signature ของกฎหมายดังกล่าว ************************************************************************************************************************************** ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์สำคัญอย่างไร และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปคืออะไร ? “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป” เป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ ที่เป็นอักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในมาตรา 9 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ตัวอย่าง เช่น การพิมพ์ชื่อไว้ท้ายเนื้อหาของอีเมล การสแกนภาพของลายมือชื่อที่เขียนด้วยมือและแนบไปกับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ การใช้สไตลัส(stylus) เขียนลายมือชื่อด้วยมือลงบนหน้าจอและบันทึกไว้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์  การคลิกปุ่มแสดงการยอมรับหรือตกลง การทำเครื่องหมายในช่องแสดงการยอมรับ การใช้ระบบงานอัตโนมัติ…

Software WFH

Software WFH

6 Software WFH เด็ดๆ ทำงานที่บ้านอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ Fusion Solution ได้รวบรวม 6 Software WFH เด็ดๆ ทำงานที่บ้านอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ที่องค์กรของคุณควรเลือกใช้ เพื่อเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว และมีความปลอดภัยในยุคโควิด 19 นี้ SharePoint เริ่มที่ตัวแรก SharePoint Online คือ Software ที่เป็นระบบแบบพร้อมใช้งาน มีอยู่ใน Microsoft 365 สามารถใช้งานได้ง่ายมาก เนื่องจาก Microsoft จะเตรียมรูปแบบการใช้งานพื้นฐานเบื้องต้นไว้ให้เรียบร้อยแล้ว เช่น การสร้าง Team Site สำหรับการใช้งานร่วมกันในแผนก การแบ่งปันข้อมูล เช่น File, Calendar, Task ต่างๆ เป็นต้น ส่วนองค์กรใดต้องการการใช้งานที่ Advance ยิ่งขึ้น อย่างการทำ Work Flow ก็สามารถทำการปรับแต่ง Config เพิ่มเติม ผ่านผู้เชี่ยวชาญให้ตอบโจทย์การทำงานอย่างเหมาะสมในภายหลังได้ ประโยชน์ของการใช้งาน…

กฎหมาย E-Singnature

กฎหมาย E-Signature

สงสัยมั้ยคะว่า กฎหมาย E-Signature คืออะไร? แค่ใช้ E-Signature กฎหมายก็คุ้มครองจริงหรือไม่ ? มาร่วมค้นหาคำตอบไปพร้อมกัน กฎหมาย E-Signature คืออะไร ก่อนที่จะทำความรู้จักกับกฎหมาย E-Signature เรามาทำความเข้าใจกับ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 กันก่อนว่าคืออะไร และเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร เริ่มกันที่ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Signature)  คือ เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น สามารถใช้เป็นตัวเลข อักขระ อักษร หรือสัญลักษณ์ต่างๆ มาสร้างเป็นชุดข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์และใช้เทคโนโลยีในการเข้ารหัสสำหรับยืนยันความเป็นเจ้าของ ทำให้มั่นใจ และตรวจสอบได้ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 เป็นกฎหมายกลางที่รองรับข้อมูล และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Signature) ให้มีผลผูกพันและบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย เช่นเดียวกันกับการยืนยันตัวบุคคลด้วยการใช้ปากกาเซ็นลงในกระดาษ ดังนั้น กฎหมาย E-Signature ก็คือกฎหมายที่รองรับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Signature) อย่างถูกต้อง และสามารถใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาลได้ แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Signature) นั้นมาจากเจ้าของตัวจริงๆ และมีความน่าเชื่อถือพอที่ใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมายได้ แค่ใช้…

ความสำคัญ IFRS

ความสำคัญ IFRS

ความสำคัญ IFRS คืออะไร ใครเป็นผู้ใช้งานหลัก มาตรฐานสากลรายงานทางการเงิน (IFRS) ได้ระบุกฎพื้นฐานขึ้นเพื่อให้งบการเงินทั่วโลกมีรูปแบบที่มีความสอดคล้อง โปร่งใส และเปรียบเทียบได้ มาตรฐาน IFRS ถูกประกาศโดย IASB (คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ) ซึ่งมีความแตกต่างจากมาตรฐาน GAAP ที่สหรัฐอเมริกาใช้งาน โดยจะอธิบายรายละเอียดความแตกต่างในหัวข้อถัดๆ ไป ความสำคัญ IFRS อยู่ตรงที่มันสามารถช่วยคงไว้ซึ่งความโปร่งใส และความน่าเชื่อถือในตลาดการเงินโลก และยังเป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หากไม่มี IFRS นักลงทุนย่อมเชื่อใจงบการเงินได้ยากกว่า ส่งผลให้เกิดการทำธุรกรรมน้อยลง และมีค่าทำธุรกรรมสูงขึ้น ตลาดก็จะหดตัวลง นอกจากนี้ยังทำให้ผู้สนใจลงทุนสามารถเปรียบเทียบระหว่างบริษัทได้ง่ายขึ้น เพื่อวิเคราะห์เชิงพื้นฐานบริษัท A/B ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ********************************************************************************************************************************** ประวัติศาสตร์ของ IFRS IFRS ถือกำเนิดขึ้นที่ EU ด้วยจุดประสงค์ที่จะทำให้กิจการธุรกิจ และการบัญชี สามารถเข้าถึงได้จากทุกทวีป แนวคิดนี้ได้แพร่ไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วในฐานะภาษากลางในเชิงบัญชี ถึงแม้สหรัฐอเมริกา และบางประเทศไม่ใช้ IFRS แต่ประเทศอื่นๆ ใช้กันอย่างแพร่หลาย ทำให้ IFRS กลายเป็นมาตรฐานระดับโลกในที่สุด หากสนใจอยากทราบรายละเอียดข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์เพิ่มเติม สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎ และประวัติศาสตร์ได้ที่เว็บไซต์…

SeedKM

ระบบจัดการความรู้

ทำไมต้องมี ระบบจัดการความรู้​ ระบบจัดการความรู้ ( Knowledge Management เรียกสั้นๆ ว่า KM) หมายถึง การบริหารจัดการความรู้ที่มีอยู่ภายในองค์กร ทั้งความรู้จากในทฤษฎี เอกสาร หรือตำราต่างๆ และความรู้ที่กระจายอยู่ภายในตัวบุคคล มาบูรณาการเป็นระบบสารสนเทศ เพื่อให้ทุกคนภายในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองได้ เป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จนนำไปสู่การพัฒนาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การจัดการความรู้ จึงเปรียบเสมือนเครื่องมือที่นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ขององค์กร ปัญหาของ HR ในการอบรมพนักงาน มาตรฐานความรู้ในการอบรมไม่เหมือนกัน ทั้งที่หัวข้อ/เนื้อหาเป็นเรื่องเดียวกัน สิ้นเปลืองทรัพยากรในการอบรม เช่น แรงงานบุคคล สถานที่ เวลา ค่าใช้จ่าย เอกสารประกอบการอบรม เป็นต้น ต้องจัดหาวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาอบรมให้กับพนักงานอย่างเหมาะสม ผู้เข้าอบรมได้รับข้อมูลความรู้ไม่เท่าเทียมกัน เช่น อาจเกิดจากเข้าอบรมไม่ทัน, ไม่เข้าใจแต่ไม่กล้าถาม, ปัญหาทางเทคนิคของอุปกรณ์สื่อสาร เป็นต้น มีเวลาจำกัด ทำให้ได้รับข้อมูลที่จำเป็นและสำคัญไม่ครบถ้วน พนักงานขาดการเรียนรู้ด้วยตนเอง วัดผลประเมินการอบรมได้ยาก Service by Fusion Solution ที่ปรึกษาด้านพัฒนาการจัดการความรู้ ออกแบบ และดำเนินการจัดการความรู้ รับข้อกำหนด และออกแบบเอกสาร ติดตั้งเซิร์ฟเวอร์การจัดการความรู้ ปรับแต่งการจัดการความรู้ ระบบบำรุงรักษา…