ป้องกันข้อมูล O365

ป้องกันข้อมูล O365

ป้องกันข้อมูล O365 เมื่อเทคโนโลยีมีความทันสมัยมากขึ้น แน่นอนว่าภัยคุกคามทางโลกออนไลน์ก็พัฒนา และมีความซับซ้อนมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ไวรัส แรนซัมแวร์ และการหลอกลวงแบบฟิชชิ่ง สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ของคุณไม่ถูกบุกรุก หรือ ถูกทำลาย นั่นคือ คุณต้องมีเครื่องมือที่เหมาะสมกับการช่วยปกป้องอุปกรณ์ ข้อมูลส่วนบุคคล และไฟล์ของคุณ Microsoft จึงได้เพิ่มความสามารถในการ ป้องกันข้อมูล O365 ขั้นสูงรูปแบบใหม่ๆ ให้สมาชิก Office 365 Home และ Office 365 Personal หรือ ชื่อใหม่ Microsoft 365 เพื่อใช้ช่วยปกป้องบุคคลและครอบครัวจากภัยคุกคามออนไลน์ มีการรักษาความปลอดภัยที่แน่นหนามากยิ่งขึ้นสำหรับบริการ Office ซึ่งรวมถึงการตรวจสอบลิงก์และการสแกนไฟล์แนบเพื่อตรวจหาไวรัสและภัยคุกคามฟิชชิ่ง การเข้ารหัสลับข้อมูลในระหว่างการส่งและระหว่างพัก ตลอดจนการป้องกันไวรัสที่มีประสิทธิภาพด้วย Windows Defender ส่งผลให้คุณสามารถใช้งานโปรแกรม Word, Excel, และ PowerPoint ตลอดจนบริการบนคลาวน์อย่าง OneDrive, และ Outlook ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้คุณสามารถสร้าง แชร์ และสื่อสารได้ทุกที่ทุกอุปกรณ์ *********************************************************************************************************************************…

Microsoft Office

Microsoft 365

Microsoft Office Microsoft office ที่เรารู้จักกันดี เพราะเราใช้ Word Excel PowerPoint กันอยู่ทุกวัน แต่ตอนนี้ มาในชื่อใหม่ว่า Microsoft 365 หากกล่าวถึงสถานการณ์โควิด 19 ที่แพร่ระบาดอย่างรุนแรงในตอนนี้ แน่นอนว่าหลายๆ บริษัท ได้ปรับเปลี่ยนการทำงานให้อยู่ในรูปแบบ Work from home (WFH) สิ่งสำคัญที่จำเป็นสำหรับการทำงานที่บ้าน นั่นก็คือ เครื่องคอมพิวเตอร์บนระบบปฏิบัติการ Windows และโปรแกรมสามัญที่หลายๆ ส่วนงานต้องใช้ในการดำเนินงาน คงหนีไม่พ้น Microsoft Office ซึ่งเป็นโปรแกรมที่พนักงานส่วนใหญ่จะต้องมีติดเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม Microsoft Word สำหรับพิมพ์งานเอกสาร Microsoft Excel สำหรับใช้ใส่สูตรตารางคำนวณต่างๆ และโปรแกรม PowerPoint สำหรับจัดทำสไลด์พรีเซนต์เทชั่นเพื่อนำเสนองานแก่เจ้านาย หรือ ลูกค้าขององค์กร หลายท่านอาจจะสงสัยว่า ถ้าสนใจจะซื้อมาใช้งาน โปรแกรมออฟฟิศแท้แบบใช้งานทั่วไปในปัจจุบัน มีทั้งหมดกี่รูปแบบ แอดมินของนำข้อมูลมาฝากทุกท่านค่ะ Fusion Solution นอกจากบริการ License เรายังให้บริการดูแล…

ป้องกันเอกสาร E-SIGNATURE

ป้องกันเอกสาร E-SIGNATURE

ป้องกันเอกสาร E-SIGNATURE เมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องในการทำงานแบบ New Normal ยุคปัจจุบัน แน่นอนว่าต้องมีทั้งผลดี และผลเสียตามมา หนึ่งในเทคโนโลยีที่นิยม นั่นก็คือ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) ที่ใช้เทคโนโลยีในการสร้างเครื่องยืนยันตัวตนของบุคคลในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งให้ผลไม่ต่างจากการยืนยันตัวบุคคลโดยการจับปากกาลงมาเซ็นในกระดาษ ผลเสียที่พบบ่อยคือ เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าลายเซ็นนั้นๆ ถูกเซ็นจากเจ้าของลายเซ็นจริงๆ ไม่ได้มีการปลอมแปลงเกิดขึ้น จากเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้น จึงเกิดวิธีการ ป้องกันเอกสาร E-SIGNATURE เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องการปลอมแปลงลายเซ็น โดยใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัส และการยืนยันตัวตนของผู้เซ็น ทำให้มั่นใจ และตรวจสอบได้ว่าลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์นี้ถูกเซ็นจากเจ้าของลายเซ็นจริงๆ จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น Signature จากตัวจริง​ การลงนามแบบดิจิทัล (Digital Signature) ต้องใช้ Public Key Infrastructure (PKI) โดยลายเซ็นดิจิทัลแต่ละรายการจะมีคู่ของคีย์ ทั้ง Private Key ที่หมายถึง การเซ็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์จะถูกใช้โดยผู้ลงนามเท่านั้น และจะไม่ถูกแชร์ออกไปภายนอกโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วน Public Key จะหมายถึง ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ที่พร้อมใช้งาน และเผยแพร่สู่ภายนอกได้ โดยต้องมีใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) ในการยืนยันตัวตนของผู้ลงนาม ซึ่งการลงนามดังกล่าวนี้ จะมีความปลอดภัยมากกว่าการลงนามด้วยปากกาบนกระดาษ…

เอกสาร ISO กับ M365

เอกสาร ISO กับ M365

เอกสาร ISO กับ M365 Fusion Solution ให้บริการติดตั้ง และพัฒนา Implement Software ISO Document  ใช้งานง่าย สำหรับการลงทะเบียนเอกสาร หรือ Work Flow โดยทีมงานที่มีประสบการณ์นานกว่า 15 ปี ด้านระบบ Document Management ทั้งการใช้งานในรูปแบบ On Premises หรือ Cloud เราพร้อมให้บริการพัฒนาระบบบน SharePoint ในทุกรูปแบบตามมาตราฐาน Microsoft Gold Partner และ CMMi ยิ่งหากองค์กรใดมีการใช้งาน License ของ Microsoft 365 ยิ่งสะดวกในการจัดการ เอกสาร ISO กับ M365 มากขึ้น เช่น เอกสาร DAR (Register New Document ,Update Document ,Cancel ,Change…

ติดตั้ง Payment Gateway

ติดตั้ง Payment Gateway

ติดตั้ง Payment Gateway วิธีการ ติดตั้ง Payment Gateway บนบริการทางออนไลน์ สามารถติดตั้งได้ 2 รูปแบบ ดังนี้ การติดตั้งระบบทาง Payment Gateway Bank : จำเป็นต้องเชื่อมเข้ากับ API ที่ทางธนาคารส่งมาให้ เมื่อลูกค้าดำเนินรายการ ตัวระบบจะส่งข้อมูลไปให้ทางธนาคารช่วยดำเนินการตัดบัตรเครดิตหรือเดบิตให้ การติดตั้งระบบทาง Payment Gateway Non-Bank : ทางผู้ให้บริการจะมีระบบให้เราสามารถติดตั้งลงบนบริการออนไลน์ของเราในแต่ละแพลตฟอร์มโดยตรง ลูกค้าจะต้องเป็นสมาชิกของผู้ให้บริการตัวกลางต่าง ๆ ก่อน และทำการผูกบัญชีเข้ากับตัวกลางเหล่านั้น จึงจะสามารถดำเนินการชำระเงินได้ นอกจากนี้ผู้ให้บริการตัวกลางต่าง ๆ จะมีระบบหลังบ้าน ที่ช่วยให้เราเข้าไปเช็คยอดการทำรายการของลูกค้าได้อีกด้วย ******************************************************************************************************************************* ความปลอดภัยของระบบ Payment Gateway Payment Gateway แต่ละแบบจะมีการรับรองมาตราฐานความปลอดภัยด้านการเก็บรักษาข้อมูล ตามมาตรฐานความปลอดภัยของธุรกิจการรับชำระเงินแทน PCI DSS จากผู้ตรวจประเมินอิสระอยู่เสมอ ดังนั้นคุณจึงสามารถมั่นใจได้ว่า ผู้ให้บริการ Payment Gateway ต่าง ๆ สามารถ…

ความเชื่อถือ e-Signature

ความเชื่อถือ e-Signature

ความเชื่อถือ e-Signature ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) ในพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ได้ให้นิยามของลายเซ็นดิจิทัลว่า หมายถึง อักษร อักขระ ตัวเลข เสียง หรือสัญลักษณ์อื่นใด ที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น เช่น การสร้างลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้เทคโนโลยี Public Key Infrastructure (KPI) ซึ่งใช้หลักการเข้ารหัส/ถอดรหัส (Encryption) โดยผู้สร้างลายมือชื่อจะนำข้อมูลของตนไปแปลงให้อยู่ ในรูปแบบข้อความเข้ารหัส และหากคู่สัญญาอีกฝ่ายจะเข้าถึงข้อความดังกล่าว ก็จำเป็นต้องถอดรหัสด้วยกุญแจคู่รหัสเช่นกัน ดังนั้น e-Signature คือ การใช้เทคโนโลยีในการสร้างเครื่องยืนยันตัวตนของบุคคลในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งให้ผลไม่ต่างจากการยืนยันตัวบุคคลโดยการจับปากกาลงมาเซ็นในกระดาษ ********************************************************************************************************************************* ความเชื่อถือ e-Signature เป็นอย่างไร​ กฏหมายจะรองรับว่า e-Signature เป็นไปตามมาตรฐาน เมื่อมีองค์ประกอบสำคัญต่างๆ ดังนี้ สามารถพิสูจน์และยืนยันตัวตนเจ้าของลายมือชื่อได้ กล่าวคือ ความน่าเชื่อถือของ e-Signature ต้องพิจารณาคู่กับระดับความน่าเชื่อถือในการพิสูจน์ตัวตน (IAL) และระดับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน (AAL) เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง “เจ้าของ e-Signature” กับ “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” เจตนาในการลงลายมือชื่อ กล่าวคือ ต้องแสดงได้ว่าเจ้าของ e-Signature เป็นผู้ลงลายมือชื่อเกี่ยวกับข้อความนั้นไว้เอง โดยผู้สร้าง e-Signature อาจกำหนดรายละเอียด วัตถุประสงค์…

โปรแกรม ISO

โปรแกรม ISO

ไขข้อข้องใจ โปรแกรม ISO เหตุใดจึงมีความสำคัญต่อองค์กร ISO คืออะไร เมื่อต้องการเปรียบเทียบว่าองค์กร หรือ บริษัทใด มีคุณภาพมากกว่ากัน คงตอบได้ยาก แต่หากมีเครื่องมือใช้วัดเกณฑ์มาตรฐานร่วมกัน คงจะสามารถเปรียบเทียบและหาคำตอบได้ง่ายขึ้น ดังนั้น ระบบ ISO ก็คือตัวแทนของเครื่องมือดังกล่าวนี้ ปัจจุบันระบบ ISO ถือว่าเป็นเรื่องพื้นฐานของทุกหน่วยงานที่ต้องทำ และ การทำ ISO แบบ Manual เป็นเรื่องเสียเวลามาก ต้องจัดเตรียมเอกสารจำนวนมาก และ ต้องเกี่ยวข้องกับหลายคน ดังนั้น การเลือกใช้โปรแกรมสำหรับบริหาร ISO จึงเป็นเรื่องที่จะช่วยให้การทำงานในภาพรวมทำได้รวดเร็วและเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานได้ชัดเจน ซึ่งตัวเลือกหนึ่งเกี่ยวกับ ISO Solution คือ Office 365 ที่สามารถจัดทำขั้นตอนลงทะเบียนเอกสาร ได้อย่างง่าย ๆ โดยไม่มีค่า license เพิ่มเติม ระบบ ISO มีมาตรฐานอะไรบ้าง ISO ย่อมาจากคำว่า International Organization for Standardization เป็นองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ…

what is payment gateway

ระบบ Payment Gateway

ระบบ Payment Gateway ที่ให้บริการชำระเงินออนไลน์ อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย ในยุคที่สื่อออนไลน์กลายเป็นแกนหลักของโลกธุรกิจ การชำระเงินทางออนไลน์ (ระบบ Payment Gateway) ถือเป็นหนึ่งในระบบสำคัญที่จะทำให้การค้าขายดำเนินไปอย่างง่ายดาย ลองคิดดูว่า ถ้าหากคุณมีบริการ สินค้า หรือเครื่องมือที่ต้องการจะนำเสนอขายอยู่ในมือ คุณทำโปรโมท สร้างเว็บไซต์นำเสนอสินค้าให้ดูดีจนมีลูกค้าเข้ามาสนใจมากมาย ปัญหาคือลูกค้าของคุณไม่สามารถซื้อสินค้าดังกล่าวได้ทันที ต้องติดต่อคุณ หรือทำอะไรอีกหลายขั้นตอนเพื่อชำระเงิน ทำให้การทำการค้าของคุณไม่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าในยุคปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม จนกลายเป็นว่าคุณไม่สามารถขายสินค้าได้ และเสียลูกค้าให้กับคู่แข่งที่พร้อมกว่าไปในที่สุด Fusion Service : Implement Gateway เพิ่มความสะดวกในการชำระเงิน online ลูกค้าในยุคนี้ต้องการการดำเนินการที่รวดเร็ว ตรงตามใจ ไม่ซับซ้อน ง่าย ปลอดภัย และสามารถทำการได้ในทันที นั่นทำให้ “Payment Gateway” กลายเป็นตัวแปรสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามไปได้อีกต่อไป Payment Gateway คืออะไร ? Payment Gateway คือ บริการชำระเงินออนไลน์ ที่ถูกออกแบบมาให้ดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยผ่านทางบัตรเครดิตหรือเดบิต และบริการชำระเงินต่าง ๆ ของลูกค้า เหมาะกับธุรกิจออนไลน์ที่มีการซื้อขายหรือจ่ายค่าบริการ ช่วยลดการจัดส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าให้เร็วขึ้นได้หลายสิบเท่า…

payment gateway bank and non bank

รูปแบบ Payment Gateway

รูปแบบ Payment Gateway กระบวนการตัดยอดเงิน แบบ Bank และ Non-Bank รูปแบบ Payment Gateway เป็นช่องทางของการชำระเงินออนไลน์ ที่สามารถช่วยในการชำระค่าบริการต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และปลอดภัย อีกทั้งยังสามารถช่วยลดเวลาในการสั่งซื้อสินค้าบนหน้าระบบเว็บไซต์ได้ด้วย ปัจจุบันจะกระบวนการตัดยอดเงินที่แตกต่างกันอยู่ 2 รูปแบบ คือ การชำระเงินออนไลน์โดยเชื่อมกับธนาคารโดยตรง (Bank) และการชำระเงินออนไลน์ผ่านตัวกลางที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-bank) ซึ่งทั้งสองรูปแบบนี้มีความแตกต่างกัน สามารถแบ่งเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้ การตัดยอดเงินของลูกค้า Bank : เงินของลูกค้าจะโอนเข้ามายังบัญชีของเราโดยตรงNon-Bank : เงินของลูกค้าจะโอนเข้าไปยังผู้ให้บริการคนกลางก่อน พอถึงวันเวลาที่กำหนดคนกลางจะโอนเงินเข้ามายังบัญชีของเราทั้งหมด ******************************************************************************************************************************** 2. การคิดค่าบริการ Bank : ลูกค้าจะรับภาระค่าบริการให้ ไม่มีค่า Transection (ประมาณ 3%)Non-Bank : ลูกค้าจะรับภาระค่าบริการให้ มีค่า Transection  (ประมาณ 4%) ******************************************************************************************************************************** 3. ขอบเขตการให้บริการ Bank…

Fusion Solution – Microsoft

 กรุงเทพฯ ( 7 พฤษภาคม 2564)  ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย พร้อมด้วยพาร์ทเนอร์ บริษัท ฟิวชั่น โซลูชั่น จำกัด เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเร่งปรับทิศทางธุรกิจด้วยการใช้นวัตกรรมดิจิทัลให้เต็มศักยภาพ เพื่อความคุ้มค่า และเพื่อสร้างโอกาส ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงรอบด้านในสถานการณ์ปัจจุบัน พร้อมชูสองเรื่องราวตัวอย่างจากองค์กรไทยในการปรับธุรกิจด้วยดิจิทัลในยุคโควิด                องค์กรทั่วโลก ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ต่างต้องเผชิญกับแรงกดดันอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ในการที่จะต้องปรับตัวเข้าหาสภาพตลาดและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงหลังการระบาดของโควิด-19 การสำรวจของไมโครซอฟท์ ทั้งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและอเมริกาเหนือ ต่างให้มุมมองที่สอดคล้องกัน โดยกว่า 61% ขององค์กรทั้งในอเมริกาเหนือ และประเทศไทย ได้ตัดสินใจเร่งการทำ Digital Transformation ให้รวดเร็วยิ่งขึ้นไปอีก และความต้องการที่เร่งรัดยิ่งขึ้นนี้ก็ทำให้หลายองค์กรต้องการพาร์ทเนอร์เข้ามาช่วยคิด ช่วยทำ เรียนรู้การปรับตัวเพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้ตรงกับโจทย์ขององค์กรอย่างรวดเร็วที่สุด                การเร่งปรับตัวอย่างรวดเร็วภายใต้ความกดดันจากปัจจัยภายนอกนี้ ทำให้หลายองค์กรได้เล็งเห็นถึงช่องว่างที่ยังต้องเติมเต็มในหลายด้าน เช่นในประเทศไทย มีองค์กรราว 39% ที่ยังไม่สามารถนำข้อมูลที่มีอยู่ในองค์กรมาปรับใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ดีขึ้นได้ และมีเพียง 47% ที่กล้าใช้เทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนให้องค์กรปรับเปลี่ยนธุรกิจได้อย่างแท้จริง หรือสร้างศักยภาพความยืดหยุ่นที่เรียกว่า “Resilience” ให้เกิดขึ้น                นายสมศักดิ์ มุกดาวรรณกร รองกรรมการผู้จัดการ สายงานกลุ่มธุรกิจพันธมิตร บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด “การที่เราจะเร่งรับมือกับความเปลี่ยนแปลง…