AI with Microsoft 365

AI with Microsoft 365 AI คืออะไร ปัญญาประดิษฐ์ คือเครื่องจักร (machine) ที่มีฟังก์ชันทีมีความสามารถในการทำความเข้าใจ เรียนรู้องค์ความรู้ต่างๆ อาทิเช่น การรับรู้ การเรียนรู้ การให้เหตุผล และการแก้ปัญหาต่างๆ เครื่องจักรที่มีความสามารถเหล่านี้ก็ถือว่าเป็น ปัญญาประดิษฐ์ นั่นเอง และในปัจจุบันเราสามารถนำเอาระบบ มาใช้ได้อย่างง่าย ๆ โดยไม่ต้องลงทุนมากมายอะไร เพราะไม่ต้องลงทุน ซื้อ Hardware หรือ Software license ราคาแพง ๆ แต่เป็นลักษณะการเช่าใช้งาน เป็นครั้ง ๆ ไปเท่านั้นเอง สำหรับเนื้อหาการนำไปใช้งานสามารถเรียนรู้ได้จาก Clip การใช้ AI แปลงภาพเป็นตัวอักษร ที่ทางบริษัท fusion ได้เตรียมไว้ครับตัวอย่างที่นำเสนอเป็นการสร้าง AI จากเครื่องมือ Power Automate ของ Microsoft 365 ดังนั้นการเรียนรู้ การนำมาใช้งานจึงเป็นหัวข้อที่ผู้ทำงานต้องให้ความสำคัญในการเรียนรู้ Microsoft 365 มี…

มาตรา 9 e-Signature

มาตรา 9 e-Signature

มาตรา 9 e-Signature ปัจจุบันทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างก็มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความสะดวก รวดเร็วมาใช้ในการทำธุรกรรมและการให้บริการประชาชนมากขึ้นประกอบกับได้มี พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ออกมารองรับการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้มีผลทางกฎหมายเช่นเดียวกับการลงลายมือชื่อบนเอกสารกระดาษ ดังนั้น การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จึงมีความสำคัญ และจำเป็นต่อการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างยิ่ง สิ่งสำคัญของการลงลายมือชื่อทั้งที่ลงบนเอกสารกระดาษหรือลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ก็คือ การทำให้เกิดหลักฐานที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ และสามารถแสดงเจตนาของเจ้าของลายมือชื่อเกี่ยวกับข้อความที่ตนเองลงลายมือชื่อได้ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ไม่ได้กำหนดเทคโนโลยีที่ใช้ในการลงลายมือชื่ออย่างเฉพาะเจาะจง ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จึงมีความเป็นกลางทางเทคโนโลยี (technology neutrality) และสามารถสร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ ก็ได้ หากลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นมีคุณสมบัติเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดซึ่งลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปมีการกำหนดไว้ตาม มาตรา 9 e-Signature ของกฎหมายดังกล่าว ************************************************************************************************************************************** ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์สำคัญอย่างไร และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปคืออะไร ? “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป” เป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ ที่เป็นอักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในมาตรา 9 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ตัวอย่าง เช่น การพิมพ์ชื่อไว้ท้ายเนื้อหาของอีเมล การสแกนภาพของลายมือชื่อที่เขียนด้วยมือและแนบไปกับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ การใช้สไตลัส(stylus) เขียนลายมือชื่อด้วยมือลงบนหน้าจอและบันทึกไว้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์  การคลิกปุ่มแสดงการยอมรับหรือตกลง การทำเครื่องหมายในช่องแสดงการยอมรับ การใช้ระบบงานอัตโนมัติ…

Software WFH

Software WFH

6 Software WFH เด็ดๆ ทำงานที่บ้านอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ Fusion Solution ได้รวบรวม 6 Software WFH เด็ดๆ ทำงานที่บ้านอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ที่องค์กรของคุณควรเลือกใช้ เพื่อเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว และมีความปลอดภัยในยุคโควิด 19 นี้ SharePoint เริ่มที่ตัวแรก SharePoint Online คือ Software ที่เป็นระบบแบบพร้อมใช้งาน มีอยู่ใน Microsoft 365 สามารถใช้งานได้ง่ายมาก เนื่องจาก Microsoft จะเตรียมรูปแบบการใช้งานพื้นฐานเบื้องต้นไว้ให้เรียบร้อยแล้ว เช่น การสร้าง Team Site สำหรับการใช้งานร่วมกันในแผนก การแบ่งปันข้อมูล เช่น File, Calendar, Task ต่างๆ เป็นต้น ส่วนองค์กรใดต้องการการใช้งานที่ Advance ยิ่งขึ้น อย่างการทำ Work Flow ก็สามารถทำการปรับแต่ง Config เพิ่มเติม ผ่านผู้เชี่ยวชาญให้ตอบโจทย์การทำงานอย่างเหมาะสมในภายหลังได้ ประโยชน์ของการใช้งาน…

กฎหมาย E-Singnature

กฎหมาย E-Signature

สงสัยมั้ยคะว่า กฎหมาย E-Signature คืออะไร? แค่ใช้ E-Signature กฎหมายก็คุ้มครองจริงหรือไม่ ? มาร่วมค้นหาคำตอบไปพร้อมกัน กฎหมาย E-Signature คืออะไร ก่อนที่จะทำความรู้จักกับกฎหมาย E-Signature เรามาทำความเข้าใจกับ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 กันก่อนว่าคืออะไร และเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร เริ่มกันที่ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Signature)  คือ เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น สามารถใช้เป็นตัวเลข อักขระ อักษร หรือสัญลักษณ์ต่างๆ มาสร้างเป็นชุดข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์และใช้เทคโนโลยีในการเข้ารหัสสำหรับยืนยันความเป็นเจ้าของ ทำให้มั่นใจ และตรวจสอบได้ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 เป็นกฎหมายกลางที่รองรับข้อมูล และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Signature) ให้มีผลผูกพันและบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย เช่นเดียวกันกับการยืนยันตัวบุคคลด้วยการใช้ปากกาเซ็นลงในกระดาษ ดังนั้น กฎหมาย E-Signature ก็คือกฎหมายที่รองรับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Signature) อย่างถูกต้อง และสามารถใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาลได้ แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Signature) นั้นมาจากเจ้าของตัวจริงๆ และมีความน่าเชื่อถือพอที่ใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมายได้ แค่ใช้…

ความสำคัญ IFRS

ความสำคัญ IFRS

ความสำคัญ IFRS คืออะไร ใครเป็นผู้ใช้งานหลัก มาตรฐานสากลรายงานทางการเงิน (IFRS) ได้ระบุกฎพื้นฐานขึ้นเพื่อให้งบการเงินทั่วโลกมีรูปแบบที่มีความสอดคล้อง โปร่งใส และเปรียบเทียบได้ มาตรฐาน IFRS ถูกประกาศโดย IASB (คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ) ซึ่งมีความแตกต่างจากมาตรฐาน GAAP ที่สหรัฐอเมริกาใช้งาน โดยจะอธิบายรายละเอียดความแตกต่างในหัวข้อถัดๆ ไป ความสำคัญ IFRS อยู่ตรงที่มันสามารถช่วยคงไว้ซึ่งความโปร่งใส และความน่าเชื่อถือในตลาดการเงินโลก และยังเป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หากไม่มี IFRS นักลงทุนย่อมเชื่อใจงบการเงินได้ยากกว่า ส่งผลให้เกิดการทำธุรกรรมน้อยลง และมีค่าทำธุรกรรมสูงขึ้น ตลาดก็จะหดตัวลง นอกจากนี้ยังทำให้ผู้สนใจลงทุนสามารถเปรียบเทียบระหว่างบริษัทได้ง่ายขึ้น เพื่อวิเคราะห์เชิงพื้นฐานบริษัท A/B ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ********************************************************************************************************************************** ประวัติศาสตร์ของ IFRS IFRS ถือกำเนิดขึ้นที่ EU ด้วยจุดประสงค์ที่จะทำให้กิจการธุรกิจ และการบัญชี สามารถเข้าถึงได้จากทุกทวีป แนวคิดนี้ได้แพร่ไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วในฐานะภาษากลางในเชิงบัญชี ถึงแม้สหรัฐอเมริกา และบางประเทศไม่ใช้ IFRS แต่ประเทศอื่นๆ ใช้กันอย่างแพร่หลาย ทำให้ IFRS กลายเป็นมาตรฐานระดับโลกในที่สุด หากสนใจอยากทราบรายละเอียดข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์เพิ่มเติม สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎ และประวัติศาสตร์ได้ที่เว็บไซต์…

SeedKM

ระบบจัดการความรู้

ทำไมต้องมี ระบบจัดการความรู้​ ระบบจัดการความรู้ ( Knowledge Management เรียกสั้นๆ ว่า KM) หมายถึง การบริหารจัดการความรู้ที่มีอยู่ภายในองค์กร ทั้งความรู้จากในทฤษฎี เอกสาร หรือตำราต่างๆ และความรู้ที่กระจายอยู่ภายในตัวบุคคล มาบูรณาการเป็นระบบสารสนเทศ เพื่อให้ทุกคนภายในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองได้ เป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จนนำไปสู่การพัฒนาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การจัดการความรู้ จึงเปรียบเสมือนเครื่องมือที่นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ขององค์กร ปัญหาของ HR ในการอบรมพนักงาน มาตรฐานความรู้ในการอบรมไม่เหมือนกัน ทั้งที่หัวข้อ/เนื้อหาเป็นเรื่องเดียวกัน สิ้นเปลืองทรัพยากรในการอบรม เช่น แรงงานบุคคล สถานที่ เวลา ค่าใช้จ่าย เอกสารประกอบการอบรม เป็นต้น ต้องจัดหาวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาอบรมให้กับพนักงานอย่างเหมาะสม ผู้เข้าอบรมได้รับข้อมูลความรู้ไม่เท่าเทียมกัน เช่น อาจเกิดจากเข้าอบรมไม่ทัน, ไม่เข้าใจแต่ไม่กล้าถาม, ปัญหาทางเทคนิคของอุปกรณ์สื่อสาร เป็นต้น มีเวลาจำกัด ทำให้ได้รับข้อมูลที่จำเป็นและสำคัญไม่ครบถ้วน พนักงานขาดการเรียนรู้ด้วยตนเอง วัดผลประเมินการอบรมได้ยาก Service by Fusion Solution ที่ปรึกษาด้านพัฒนาการจัดการความรู้ ออกแบบ และดำเนินการจัดการความรู้ รับข้อกำหนด และออกแบบเอกสาร ติดตั้งเซิร์ฟเวอร์การจัดการความรู้ ปรับแต่งการจัดการความรู้ ระบบบำรุงรักษา…

Data Security

Data Security

Data Security คืออะไร เหตุใดจึงมีความสำคัญต่อองค์กร ทำไมการป้องกันข้อมูลจึงสำคัญ Microsoft เล็งเห็นความสำคัญในส่วนนี้ จึงได้เพิ่มความสามารถในการป้องกันข้อมูล O365 ขั้นสูงรูปแบบใหม่ๆ ให้สมาชิก Office 365 Home และ Office 365 Personal หรือ ชื่อใหม่ Microsoft 365 เพื่อใช้ช่วยปกป้องบุคคล และครอบครัวจากภัยคุกคามออนไลน์ มีการรักษาความปลอดภัยที่แน่นหนามากยิ่งขึ้นสำหรับบริการ Office ซึ่งรวมถึงการตรวจสอบลิงก์และการสแกนไฟล์แนบเพื่อตรวจหาไวรัสและภัยคุกคามฟิชชิ่ง การเข้ารหัสลับข้อมูลในระหว่างการส่งและระหว่างพัก ตลอดจนการป้องกันไวรัสที่มีประสิทธิภาพด้วย Windows Defender ส่งผลให้คุณสามารถใช้งานโปรแกรม Word, Excel, และ PowerPoint ตลอดจนบริการบนคลาวน์อย่าง OneDrive, และ Outlook ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้คุณสามารถสร้าง แชร์ และสื่อสารได้ทุกที่ทุกอุปกรณ์ เมื่อเทคโนโลยีมีความทันสมัยมากขึ้น แน่นอนว่าภัยคุกคามทางโลกออนไลน์ก็พัฒนา และมีความซับซ้อนมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ไวรัส แรนซัมแวร์ และการหลอกลวงแบบฟิชชิ่ง สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ของคุณไม่ถูกบุกรุก หรือ ถูกทำลาย นั่นคือ คุณต้องมีเครื่องมือที่เหมาะสมกับการช่วยปกป้องอุปกรณ์ ข้อมูลส่วนบุคคล…

Jarviz กับแผนที่ประเทศไทย

Jarviz กับ แผนที่ประเทศไทย

“ทุกท่านคงสงสัยใช่มั้ยคะว่า Jarviz มีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับ แผนที่ประเทศไทย ? …ถ้าอยากรู้แล้วตามมาดูเลยค่ะ …” Jarviz กับแผนที่ประเทศไทยเกี่ยวข้องกันอย่างไร​ Jarviz มีความเกี่ยวข้องกับ แผนที่ ตรงที่ใน Application นี้มี Feature ที่นำเทคโนโลยีระบบ GPS Tracking มาใช้ระบุพิกัดตำแหน่งการ Check In – Check Out ผ่านอุปกรณ์ติดตามตัวบุคคลอย่าง Smart Phone เพื่อตรวจสอบสถานะการบันทึกลงเวลาเข้า-ออกงาน (Time Attendance) ของพนักงานในองค์กร เมนู Status Monitor คืออะไร ​ เป็นเมนูสำหรับช่วยเจ้าหน้าที่ HR หรือ Admin ตรวจสอบสถานการณ์บันทึกเวลาเข้าออกงานของพนักงาน ผ่านระบบออนไลน์ หรือหน้า Web Application  ซึ่งเป็นอีกหนึ่งช่องทางหนึ่งในการตรวจสอบความถูกต้องและความผิดปกติของพนักงานในองค์กรแต่ละบุคคล ผ่านการแสดงผลในรูปแบบ แผนที่ประเทศไทย โดยข้อมูลจะมีความสัมพันธ์กับจุดที่พนักงานทำการ Check In – Check Out เข้ามา ประโยชน์ของเมนู Status Monitor​…

Free Jarviz Standard Feature

Free Jarviz Standard Feature

Free Jarviz Standard Feature ทางบริษัท ฟิวชั่น โซลูชั่น จำกัด เล็งเห็นถึงผลกระทบที่เกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Covid 19 เพื่อช่วยเหลือทุกๆ องค์กรในสถานการณ์ที่ยากลำบากนี้ และต้องอาศัยความเกื้อกูล ความร่วมมือซึ่งกันและกัน บริษัทฯ จึงให้โปรแกรม Jarviz ยังคงรักษาการให้บริการ Standard Feature แบบไม่เสียค่าบริการใดๆ Free Jarviz Standard Feature เพื่อช่วยหน่วยงาน ทั้ง ภาคเอกชน ภาครัฐ ผู้ประกอบการรายย่อย รวมถึงธุรกิจขนาดกลาง และขนาดใหญ่ (SME) ต่างๆ ******************************************************************************************************************************* สิ่งที่มีในบริการ Standard Feature ฟีเจอร์ Check in – outหนึ่งในฟีเจอร์เพื่อตอบโจทย์การทำงานแบบ “Work Everywhere” หรือ “การทำงานที่ไหนก็ได้” ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่บ้านหรือที่ไหนๆ ก็สามารถทำงานได้ทุกที่ เพราะ Jarviz มี Feature สำหรับการ Check In/Check Out ง่ายๆ ผ่านสมาร์ทโฟน ด้วยการถ่ายรูปยืนยันสถานที่จริง และเก็บพิกัดละติจูด-ลองติจูดแบบ…

มาตรฐาน IFRS

มาตรฐาน IFRS

มาตรฐาน IFRS มาตรฐานสากลรายงานทางการเงิน (IFRS) คืออะไร มาตรฐาน IFRS คือ มาตรฐานสากลเกี่ยวกับรายงานทางการเงิน ซึ่งได้ระบุกฏพื้นฐานขึ้น เพื่อให้งบการเงินทั่วโลกมีรูปแบบที่มีความสอดคล้อง โปร่งใส และเปรียบเทียบได้ มาตรฐานดังกล่าวของ IFRS นี้ ถูกประกาศโดย IASB (คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ) ซึ่งกำหนดว่าบริษัทต่างๆ จะต้องปฏิบัติอย่างไรบ้างในการรายงานบัญชี นิยามรูปแบบของรายการธุรกรรม และเหตุการณ์อื่นๆ ที่ส่งผลกระทบทางการเงิน IFRS จึงถูกประกาศเพื่อสร้างภาษาบัญชีที่เป็นสากล เพื่อให้ธุรกิจ และงบการเงินสามารถเป็นไปได้อย่างสอดคล้อง และไว้ใจได้จากบริษัทสู่บริษัท และจากประเทศสู่ประเทศ เกร็ดความรู้ มาตรฐานสากลรายงานทางการเงิน (IFRS) ถูกประกาศเพื่อนำมาซึ่งความสอดคล้องในการมีมาตรฐานทางบัญชีและทางปฏิบัติซึ่งสามารถปฏิบัติใช้ได้กับทุกบริษัทและทุกประเทศ มาตรฐานสากลรายงานทางการเงิน (IFRS) ถูกประกาศโดย IASB (คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ) ในการรายงานบัญชี นิยามรูปแบบของรายการธุรกรรมและ เหตุการณ์อื่นๆ ที่ส่งผลกระทบทางการเงิน มาตรฐานนี้ส่งผลดีต่อบริษัทและบุคคลในการมีความโปร่งใสภายในองค์กรที่มากขึ้นข้อเสียของ IFRS คือมันไม่เป็นสากลเนื่องจากสหรัฐอเมริกาใช้มาตรฐาน GAAP และอีกหลายประเทศใช้มาตรฐานอื่นๆ ทำความเข้าใจมาตรฐานสากลรายงานทางการเงิน (IFRS) IFRS ถูกออกแบบมาให้นำมาซึ่งความสอดคล้องของภาษาทางบัญชีหลักปฏิบัติ และงบการเงิน เพื่อช่วยธุรกิจ และผู้ลงทุนสามารถตัดสินใจ…