Preventive Maintenance
Preventive Maintenance คือ การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน เป็นหนึ่งในรูปแบบการดูแลสภาพเครื่องจักรและอุปกรณ์ภายในโรงงาน ที่ใช้การตรวจสอบ ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ต่างๆ ตามเวลาที่มีการกำหนดเอาไว้ เป้าหมายของการทำ Preventive Maintenance
- Replace worn Components before they fail : การตรวจสอบชิ้นส่วนและเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะเสียหายจนหยุดการทำงาน
- Clear and restore components before performance degrades : ทำความสะอาดและตรวจสอบการติดตั้ง เพื่อคงประสิทธิภาพการทำงานให้คงที่
- Avoid the consequences of component of system failure : ป้องการส่วนประกอบต่าง ๆ จากการที่ระบบทำงานผิดพลาด
- Improve reliability and predictability : เพิ่มอายุการทำงานของอุปกรณ์
- Train experts on proper procedure and techniques : พัฒนาความรู้ของทีม
รูปแบบการทำแผนงาน
1. แผน PM ตามระยะเวลา (Time-based Preventive Maintenance)
ในการกำหนดแผน PM โดยใช้เวลาเป็นตัวกำหนดเพื่อทำนายสภาพ และคุณสมบัติของเครื่องจักร ซึ่งในกรณีแรก จะใช้ในการเข้าไปทำกิจกรรมกับชิ้นส่วนที่มีความสำคัญต่อเครื่องจักรมากๆ ซึ่งชิ้นส่วนตัวนั้นของเครื่องจักรมีผลกระทบรุนแรงต่อเครื่องจักรมากๆ หากชิ้นส่วนนี้เกิดความเสียหาย จะส่งผลกระทบต่อเครื่องจักร และการผลิตของโรงงานได้ครับ
หรือสำหรับโรงงานที่เดินเครื่องจักร ที่มีระยะเวลาที่แน่นอนตลอด ขอยกตัวอย่างเพื่อความเข้าใจนะครับ เช่นสมมุติเรามีปั้ม 1 ตัว ในระยะเวลา 1 ปี ปั้มอาจจะมีการใช้งานตลอด 6,570 ชม (ใช้งาน 3 เดือน หยุด 1 เดือน; ตลอด 24 ชม) ก็สามารถกำหนดช่วงเวลาเข้าไปเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่นทุกๆ 6 เดือน เป็นต้นนะครับ
2. แผน PM ตามปริมาณการใช้งาน (Usage-based Preventive Maintenance)
ในการกำหนดแผน PM ตามลักษณะปริมาณการใช้งานจะ “ชี้ชัดมากกว่า” แบบแผน PM ที่กำหนดตามระยะเวลา เพราะ สภาพ และคุณสมบัติของชิ้นส่วนเครื่องจักร รวมถึงชิ้นส่วนสิ้นเปลืองต่างๆ (Consume part) จะสามารถทำนายได้แม่นยำกว่าครับ
ยกตัวอย่างเช่น เราจะกำหนดเป็นแผนว่า เราจะเข้าไปทำกิจกรรมของเครื่องจักรทุกๆการใช้งาน กี่ ชม ที่ใช้งานเครื่องจักรจริงๆ ,ตามจำนวนครั้ง (Cycle) , หรือ ระยะทางที่ใช้งาน (ในกรณีของยานพาหนะ) เป็นต้นนะครับ
การทำงานของ Engineer จะเข้าไปตรวจสอบการทำงานของระบบ ตามแผนงานที่กำหนด จุดที่ปัจจุบันทำกัน คือ การใช้เอกสารที่ระบุหัวข้อในการตรวจสอบ ไว้อย่างชัดเจน เช่น การวัดค่า ค่าที่วัดต้องอยู่ในช่วงเท่าไหร่ และ ต้องวัดอะไรบ้าง ซึ่งเอกสารพวกนี้ มีจำนวนมาก และ ทำให้การทำงานล่าช้า เพราะต้องนำไปสรุปเป็นข้อมูลอีกครั้ง เป็นการทำงานซ้ำซ้อน
นอกจากนี้ การทำ PM หลายครั้งอาจจะทำไม่ได้ตามแผน ทำให้แผนงานที่วางไว้ต้องมีการปรับเปลี่ยน ทำให้ต้องมีเจ้าหน้าที่คอย update แผนงานอยู่เสมอ ๆ
Form PM
การทำงานของ Engineer จะมี Form ที่เป็นกระดาษ ซึ่งทำให้การทำงานล่าช้า เพราะต้องเอาข้อมูลไปกรอกซ้ำ อีกระบบหนึ่งทำให้ขั้นตอนการสรุป ไม่ทันต่อเหตุการณ์ รวมถึงต้องใช้พนักงานส่วนการทำสรุปรายงานต่าง ๆ อีกด้วย
เครื่องมือสร้าง E-Form
Microsoft 365 สามารถสร้าง E-Form สำหรับงาน Maintenance โดยเฉพาะระบบสามารถทำงานได้ทั้ง Mobile and Tablet สำหรับการบันทึกข้อมูลในพื้นที่ทำงาน
แนะนำ Power Platform สำหรับการสร้างระบบ Preventive Maintenance
” ชุดเครื่องมือที่ช่วยให้คนธรรมดาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยที่ไม่ได้เป็น Programmer แต่สามารถใช้งานได้เอง ” พอเรานิยามแบบนี้ ก็มีอีกคำที่เกี่ยวข้องด้วย คือ Low Code Development ที่หมายถึง การพัฒนา Application โดยไม่ต้องเขียน Code หรือ เขียนให้น้อยที่สุด
ชุดของ Power Platform นี้ ไม่ได้เป็นคำเรียกทั่วไป แต่เป็น Microsoft ที่เรียกชุดเครื่องมือของเค้าเอง โดยชุดนี้ประกอบไปด้วย
- Power Apps
- Power Automate
- Power BI
- Power Virtual Agents
ข้อดีของการสร้างระบบบน Microsoft 365
- ไม่ต้องเสียค่าระบบแบบรายปี
- ไม่ต้องตั้ง Server
- ไม่มีค่า License
- สามารถปรับเปลี่ยนการทำงานได้เองโดยไม่ต้องจ้างเพิ่ม
- พัฒนาได้รวดเร็ว ไม่เหมือนการเขียน Code แบบเดิม