Power Platform คือ
ผมขอนิยมเองนะครับ ” ชุดเครื่องมือที่ช่วยให้คนธรรมดาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยที่ไม่ได้เป็น Programmer แต่สามารถใช้งานได้เอง ” พอเรานิยามแบบนี้ ก็มีอีกคำที่เกี่ยวข้องด้วย คือ Low Code Development ที่หมายถึง การพัฒนา Application โดยไม่ต้องเขียน Code หรือ เขียนให้น้อยที่สุด
ชุดของ Power Platform นี้ ไม่ได้เป็นคำเรียกทั่วไป แต่เป็น Microsoft ที่เรียกชุดเครื่องมือของเค้าเอง โดยชุดนี้ประกอบไปด้วย
- Power Apps
- Power Automate
- Power BI
- Power Virtual Agents
- Power Page
และถ้าใครรู้สึกคุ้นๆ ว่าเคยเห็น ก็ต้องบอกว่ามันมีอยู่แล้วในชุด Microsoft 365 ครับมีมาตั้งแต่ ชุด Business Basic เลยทีเดียว ดังนั้นใครที่ซื้อ License Microsoft 365 แล้วใช้แต่ ชุด Office Word Excel นี่ขาดทุนนะครับ
Power Apps
เอามาช่วยอะไรเราได้บ้าง ก็มากมายเลยครับ ถ้าเป็นเรื่องของการสร้าง User Interface สำหรับกรอกข้อมูล เรียกดูข้อมูล แล้ว Power Apps ถือว่าตอบโจทย์ได้ดีมาก ทั้งสะดวกในการใช้ และ การสร้างก็ทำได้อย่างรวดเร็วสมกับเป็น Low Code Development ตัวอย่างการใช้งาน Power Apps เช่น
- พนักงานซ่อมบำรุง : Form บันทึกการปฏิบัติงานซ่อม
- คุณครู : Form บันทึกการเข้าเรียนของนักเรียน , Form บันทึกคะแนนสอบ
- พยาบาล : Form บันทึกรายละเอียดผู้ป่วย
- พนักงาน Stock : Form ใบเบิกของ
- พนักงานรับ order : Form รับ order
Power Automate
อันนี้หลายคนอาจจะไม่คุ้น ถือว่าเป็นของใหม่ในชุดของ Microsoft 365 ถือว่าเป็นตัวช่วยสำคัญ ที่ทำให้เกิดคำว่า อัตโนมัติ หมดยุคที่เราต้องคิดแล้วว่าทำงานเสร็จแล้ว ต้องส่งใคร เพราะตัว Power Automate จะเป็นตัวช่วยประสานงานในการส่งต่อข้อมูล Update สถานะ แจ้งเตือน และ คอยตรวจสอบข้อมูลแทนตัวเราเอง เราแค่วางแผนแล้ว สั่งให้ระบบทำงานตามที่เรากำหนด ถ้าเจอเงื่อนไขที่เราระบุก็สามารถ สั่งต่อได้เลยว่าต้องการให้ทำอะไร ตัวอย่างการเขียกใช้งาน Power Automate
- ครู ส่งข้อมูลให้ ผู้ปกครองเมื่อเด็กมาเข้าเรียน
- พนักงานขาย ส่งข้อมูลให้หัวหน้าสรุปยอดขายประจำวัน
- ช่าง ส่งข้อมูลสรุปผลการซ่อมให้หัวหน้า
- พนักงานส่งของ ส่งข้อมูลให้บริษัทเมื่อถึงสถานที่ส่งของ
- พนักงาน เบิกของส่งข้อมูลขออนุมัติ สำหรับการเบิก
Power BI
ชุดเครื่องมือสำหรับสร้างรายงาน สุดยอดของความง่ายที่ทุกคนชอบ เพราะทำรายงานได้สวยงามแถมมีลูกเล่นที่น่าสนใจ การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบกราฟ การทำ Interaction การนำข้อมูลมาแสดงผลในแผนที่ การทำเปรียบเทียบข้อมูลก็ทำได้อย่างง่ายๆ และ เข้าใจง่าย ตัวอย่างการใช้งาน
- หัวหน้าฝ่ายขาย เห็น Dashboard สถานะการขายของ Sales แต่ละคน
- หัวหน้าซ่อม เห็น Dashboard สถานะการซ่อมบำรุงของเครื่องจักร
Power Virtual Agents
Power Virtual Agents บริการสร้างแชตบอตโดยไม่ต้องโค้ด แต่อาศัยการเขียน flow บนตัวออกแบบ GUI แทน
ไมโครซอฟท์เตรียมหัวข้อ (topic) ที่พูดคุยกับลูกค้าไว้บ่อยๆ ให้แล้ว เช่น การถามเวลาเปิดปิดร้าน, ถามตำแหน่งร้าน, หรือยกเลิกคำสั่งซื้อ แต่ละหัวข้อจะมีประโยคเข้าเรียกใช้หัวข้ออย่างน้อย 5-10 ประโยค เช่น หากถามเวลาเปิดปิดร้าน อาจจะถามว่า “ตอนนี้เปิดอยู่ไหม” หรือ “พรุ่งนี้เที่ยงเปิดหรือเปล่า”
แชตบอทสามารถเชื่อมต่อ API กับโลกภายนอกผ่านทาง Power Automate ซึ่งทำให้เข้าถึงข้อมูลบนฐานข้อมูลต่างๆ รวมถึงการคิวรีผ่านเว็บและการบันทึกผลผ่าน API
Reference