Design Dashboard
Design Dashboard มีแนวทางในการออกแบบ Dashboard สำหรับผู้ใช้งานแต่ละกลุ่มยังไงบ้าง และทำให้ได้ประโยชน์สูงสุดยังไง เนื้อหาของบทความต่อไปนี้ จะเป็นแนวคิดในการออกแบบระบบ สำหรับทุกหน่วยงานที่มีเครื่องมือ Power BI อยู่แล้วและต้องการสร้าง Dashboard สำหรับขึ้นมาใช้งานเอง
เนื้อหาของบทความนี้จะไม่รวมถึง วิธีในการดึงข้อมูล เราจะอยู่บนสมมุติฐานว่า เราได้ข้อมูลมาครบถ้วนแล้ว
กรณี Design Dashboard สำหรับ Sales Department
- กำหนด User ที่ต้องการใช้งาน เช่น เป็น Sales Account , Sales Manager , Sales Director เพราะมุมมองของแต่ละตำแหน่งไม่เหมือนกัน
- กำหนดบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบ เพื่อกำหนดขอบเขตของข้อมูลที่ต้องดูแล เช่น เป็น Sales Manager ดูแลภาคกลาง ดังนั้นข้อมูลจึงเป็นของภาคกลาง
- กำหนดหัวข้อ KPI หรือ เป้าหมายในการทำงาน จะสามารถ Focus ข้อมูลที่ต้องพิจารณา เช่น เป้ายอดขายประจำเดือน เป้ายอดขายประจำปี
จากการกำหนดหัวข้อ ดังกล่าว เราสามารถขึ้นโครงสร้าง Dashboard ในระดับหนึ่ง
ในขั้นตอนนี้เราจะมา Focus ในเรื่องความครบถ้วนของข้อมูลก่อน ว่าเราจะดูค่าอะไรบ้างที่เราต้องการ ซึ่งถ้าเราดูจากแบบร่าง จะพบว่า เราได้ข้อมูลครบ แต่ไม่สะดวก เพราะเวลาจะดูยอดของ Sales แต่ละคน เราต้องมา Filter ที่ละคน ดังนั้นใน Version ถัดไป เราจะมาปรับให้การดูข้อมูลง่ายขึ้น
เรื่องของความสวยงาม ( ดูง่าย ) เป็นเรื่องที่ต้องมา review กันเป็นระยะ ซึ่งอาจจะต้องมีการ Setup กันไว้ เช่น เดือนละ 1 ครั้ง และ กำหนดระยะเวลาในการปรับปรุงอยู่ที่ 3-4 วัน ในการทำงานแบบนี้เราจะได้ระบบที่ตรงกับความต้องการในการใช้งาน
หน้าที่เปลี่ยน Dashboard เปลี่ยน
เป็นเรื่องปกติที่ต้องมีการปรับปรุง Dashboard กันอยู่เสมอ กรณีที่เป็นการเปลี่ยนในระดับความสะดวกในการใช้งาน ได้หน้าจอที่ถูกใจ แบบนี้ใช้เวลาไม่นาน แต่ถ้าเป็นการเปลี่ยนหน้าที่การทำงาน จะกระทบตั้งแต่เป้าหมาย ขอบเขตงาน ซึ่งต้องมาดูกันในระดับข้อมูลว่ามีเพียงพอหรือไม่ ซึ่งในกรณีนี้ จะต้องใช้เวลานานขึ้น ซึ่งอาจจะกินเวลาในระดับอาทิตย์
การออกแบบระบบเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล
ถ้าเราต้องการวิเคราะห์ข้อมูลการออกแบบจะมีแนวคิดที่ต่างออกไปจากการออกแบบเดิมๆ นั้นคือ เราจะไม่ได้เน้นที่รูปแบบของ Dashboard แต่จะไปเน้นที่ Data Warehouse แทนโดยมีแนวคิดว่า ตัว DW จะต้องสามารถนำเสนอข้อมูลตามมุมมองที่เราต้องการ คำว่า พร้อมนำเสนอ หมายความว่า DW มีข้อมูลครบถ้วน
ดังนั้น สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล หน้าที่ของ IT หลักๆ คือ การเตรียม DW ให้มีความพร้อมอยู่เสมอนั้นเอง
เตรียมความพร้อมทางด้านเครื่องมือในการวิเคราะห์ เช่น เตรียม Data model ให้พร้อมที่จะเรียกใช้ ตัวอย่างเช่น ต้องการวิเคราะห์กลุ่มลูกค้า ก็สามารถเรียกใช้ data model classification ได้ทันที
ดังนั้นในการออกแบบเพื่อวิเคราะห์นี้ จึงไม่มีรูปแบบตายตัว อยู่ที่มุมมองของผู้ทำการวิเคราะห์ ส่วนของ IT ในการออกแบบก็จะมี 2 ส่วน คือ DW กับ Data Model นั้นเอง
สรุปในเรื่องการออกแบบ Dashboard
จากข้อมูลที่นำเสนอ เราแบ่งออกออกแบบ เป็น Dashboard สำหรับการ monitor ข้อมูล และ การออกแบบเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล
- การออกแบบเพื่อการ monitor จะสามารถทำออกมาเป็นรูปแบบที่ชัดเจนได้ เพราะมีการกำหนดเรื่องข้อมูลไว้เป็นขอบเขตแล้ว ซึ่งเราจะใช้ในระดับนี้เป็นส่วนมาก
- การออกแบบเพื่อการ วิเคราะห์ จะไม่ได้เป็นรูปแบบที่ชัดเจน ในระดับ IT จะเป็นการเตรียมความพร้อม ในเรื่องของ DW และ Data model ให้พร้อมที่จะเรียกใช้