กฎหมาย Digital Signature
ผมไม่ใช่ทนายความ หรือ เป็นตำรวจ หรือ ทำงานศาลที่ไหนนะครับ ที่มาเขียนเรื่องกฎหมาย เพราะผมขาย Solution เรื่อง Digital Signature ที่ hot สุด ๆ ละสำหรับนาทีนี้ ที่ Covid 19 ครองเมืองแล้วมันก็เกี่ยวกับ เรื่องกฎหมายด้วย แต่ผมมีข้อความจากทนายความที่อ่านบทสรุปของ กฎหมายของไทย มาสรุปให้ฟังครับ
ความคิดเห็น ที่เป็นข้อสรุปของทนายความ
จากการตรวจสอบมีคำพิพากษาศาลฎีกา ที่เกี่ยวกับ พรบ. ว่าด้วยธุรกรรมทำงอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๔๔ จำนวน 2 ฎีกา (ตามไฟล์แนบ)
พิจารณาคำพิพากษาประกอบกับกฎหมายแล้ว เห็นว่า ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่เกิดจากอิเล็กทรอนิกส์
ไม่ใช่เป็นเพียงพยานหลักฐานแวดล้อม แต่รับฟังเป็นพยานหลักฐานหลักในการตัดสินคดี
ซึ่ง มาตรา 7 ระบุไว้ ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการใช้บังคับเพียงเพราะข้อมูลอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบกับ
มาตรา 8 ระบุให้เอกสารที่จะใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องคดีทำเป็นรูปแบบอิเล็คทรอกนิกส์ได้ และ มาตรา 9 ระบุุรับรองการลงลายมือ ชื่อทางอิเล็คทรอนิกส์ใช้เป็นหลักฐานดำเนินคดีได้ตามกฎหมาย
สามารถ Download มาตราฐาน E-Signature ของ ETDA ได้จาก link ด้านล่าง
ในส่วนใบรับรองอิเล็คทรอนิกส์นั้น ตามกฎหมาย มาตรา 31 ระบุให้มีผลทางกฎหมายโดยไม่ต้องดูสถานที่ออกใบรับรอง สถานที่ใช้หรือสร้างลายมือชื่ออิเล็คทรอนิกส์ หรือ สถานที่ออกใบรับรองด้วยซ้ำ
ใบรับรองหรือลายมือชื่อที่สร้างที่ต่างประเทศ หากมีระบบที่น่าเชื่อถือได้ ก็ใช้บังคับตามกฎหมายได้ ซึ่งพิจารณาแล้ว DocuSign ได้รับรองมา ก็น่าจะใช้บังคับได้ตามกฎหมายครับ
ด้านบนเป็นความเห็นของทนาย นะครับสำหรับคำตอบของคำถามประจำของ Solution Digital Signature กับ Law คือ จะฟ้องร้องได้หรือป่าว กฎหมายรองรับหรือป่าว ต่าง ๆ นา ๆ
นอกจากข้อสรุป วันนี้เลยหาข้อมูลต่างๆ มาประกอบการพิจารณาเพิ่มเติมครับ
- ประกาศให้หน่วยงานราชการสามารถใช้ Digital Signature แทนลายเซ็นต์ได้ เอกสารตาม Link นี้นะครับ เป็นของกรมสรรพสามิต ประกาศ เมื่อวันที่ 27 กุมภา 2562
- กรณีที่เหมาะสมสำหรับลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์มาตรฐาน (SES)
- เอกสารทรัพยากรบุคคลเช่นสัญญาจ้างงานเอกสารด้านสวัสดิการและกระบวนการสร้างพนักงานใหม่
- ข้อตกลงทางการค้าระหว่างองค์กรธุรกิจรวมถึง NDA เอกสารการจัดซื้อข้อตกลงการขายบางอย่าง
- ข้อตกลงผู้บริโภครวมถึงเอกสารการเปิดบัญชีค้าปลีกใหม่
- เอกสารอสังหาริมทรัพย์รวมถึงสัญญาเช่า (ระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี) และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องสำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยและเชิงพาณิชย์
- สัญญาจะขายหรือจะซื้อ หรือคำมั่นในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรค สอง)
- สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาสองหมื่นบาทหรือกว่านั้นขึ้นไปด้วย (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรค สาม)
- สัญญากู้ยิมเงินและหลักฐานการกู้ยืมเงิน(ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรค สาม)
- กรณีที่ไม่เหมาะสมสำหรับลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์หรือการจัดการธุรกรรมดิจิทัล
ใช้กรณีที่ถูกห้ามโดยเฉพาะจากกระบวนการดิจิตอลหรืออิเล็กทรอนิกส์หรือที่มีข้อกำหนดที่ชัดเจนเช่นลายเซ็นที่เขียนด้วยลายมือ (เช่นหมึกเปียก) หรือกระบวนการรับรองเอกสารที่เป็นทางการซึ่งมักจะไม่เข้ากันกับลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์หรือการจัดการธุรกรรมดิจิทัล เมื่อเทียบกฎหมายไทยโดยเฉพาะแล้ว เป็นกรณ๊ที่กฎหมายระบุให้ทำเอกสารเป็นหนังสือและต้องลงลายมือชื่อต่อพนักงานเจ้าหน้า เช่น- สัญญาการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคแรก)
- สัญญาขายเรือห้าตันขึ้นไปเรือนแพหรือสัตว์ภาระ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคแรก)
- สัญญาการให้ทรัพย์สิน(ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525)
- สัญญารเช่าอสังหาริมทรัพย์นานกว่า 3 ปี (แต่ไม่ใช่สัญญาเช่าระยะเวลาไม่เกิน 3 ปีและสัญญาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งสามารถลงนามได้อย่างถูกต้องผ่านทางลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกรูปแบบ) (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538)
- สัญญาจำนอง (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 714 )
- ธุรกรรมที่ต้องลงลายมือชื่อ – เกี่ยวกับกฎหมายครอบครัว (พระราชกฤษฎีกากำหนดธุรกรรมทางแพ่งและพาณิชย์ยกเว้นการบังคับใช้ภายใต้กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 (2549))
- eSignature สรุปความถูกต้องตามกฎหมาย
- ภายใต้กฎหมายไทยไม่จำเป็นต้องมีการลงนามเป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับสัญญาโดยทั่วไป ซึ่งสัญญาจะมีผลใช้บังคับหากฝ่ายที่มีอำนาจตามกฎหมายบรรลุข้อตกลงไม่ว่าจะเป็นด้วยทางวาจา ทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ทางเอกสาร แต่ก็มีบางสัญญาที่กฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะบังคับให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของฝ่ายที่ต้องรับผิดตามสัญญา ซึ่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มาตรา 7 มาตรา 9 และ มาตรา 11 ยืนยันว่า ห้ามมิให้ปฏิเสธสัญญา หรือ เอกสารใด ๆ ก็ตามที่จะบังคับใช้ตามกฎหมาย เพียงเพราะเอกสารนั้น ได้จัดทำขึ้นด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และ ห้ามมิให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานในกระบวนพิจารณาตามกฎหมาย ทั้งในคดี แพ่ง คดีอาญา หรือ คดีอื่นใด เพียงเพราะเหตุว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
Reference
- Thailand law : DocuSign
- พระราชัญญัติ ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล้กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
- Certified ด้าน Security
เริ่มต้นกับ Digital Signature
การทำ Digital Signature สามารถทำได้ในหลาย level
- ใช้ในหน่วยงานภายใน แบบนี้เราสามารถสร้าง Digital Signature เองได้ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น Level ได้อี๊ก ขึ้นกับเราใช้อุปกรณ์จัดเก็บ Signature หรือป่าว สำหรับอุปกรณ์จัดเก็บแบบง่าย ๆ จะมาในรูปแบบ E-Token ( USB )
- ใช้ในหน่วยงานภายใน แต่ต้องการ CA ที่น่าเชื่อถือ ระดับนี้ต้องไปขอให้หน่วยงานราชการออกให้ครับ ราคาต่อคน ตกประมาณ 1500-2000 ต่อ ปี
- ใช้ระหว่างหน่วยงาน จะยากแล้วครับ อันนี้ ขอนำเสนอให้ใช้ DocuSign ดีกว่าครับ เพราะเค้ามี Solution ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล