Electronic Signature
Electronic Signature การเลือกใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Signature ) ปัจจุบันได้มีการนำลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ มาใช้ในองค์กร เพื่อทำให้การทำธุรกรรม การปฏิบัติงาน หรือสั่งการใดๆ ที่ต้องมีการลงลายมือชื่อสามารถทำได้โดยสะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น และการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว ยังมีผลใช้บังคับทางกฎหมายเช่นเดียวกับการลงลายมือชื่อ ลงบนกระดาษอีกด้วย เนื่องจาก พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544[i] ได้บัญญัติรับรอง ผลทางกฎหมายของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ไว้ ตามมาตรา 7 ซึ่งบัญญัติว่า “ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” และมาตรา 8 ก็บัญญัติไว้ว่า “ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว” พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ได้แบ่งประเภทของลายชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ แต่ทั้งนี้ เพื่อจะช่วยให้คนที่นำลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ ไปใช้ มีแนวทางในการใช้งานลายมือชื่อให้ครบองค์ประกอบตามกฎหมายได้ง่ายยิ่งขึ้น ETDA จึงได้ออกข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยแนวทางการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ETDA Recommendation on…