มาตรา 9 e-Signature

มาตรา 9 e-Signature

มาตรา 9 e-Signature ปัจจุบันทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างก็มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความสะดวก รวดเร็วมาใช้ในการทำธุรกรรมและการให้บริการประชาชนมากขึ้นประกอบกับได้มี พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ออกมารองรับการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้มีผลทางกฎหมายเช่นเดียวกับการลงลายมือชื่อบนเอกสารกระดาษ ดังนั้น การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จึงมีความสำคัญ และจำเป็นต่อการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างยิ่ง สิ่งสำคัญของการลงลายมือชื่อทั้งที่ลงบนเอกสารกระดาษหรือลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ก็คือ การทำให้เกิดหลักฐานที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ และสามารถแสดงเจตนาของเจ้าของลายมือชื่อเกี่ยวกับข้อความที่ตนเองลงลายมือชื่อได้ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ไม่ได้กำหนดเทคโนโลยีที่ใช้ในการลงลายมือชื่ออย่างเฉพาะเจาะจง ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จึงมีความเป็นกลางทางเทคโนโลยี (technology neutrality) และสามารถสร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ ก็ได้ หากลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นมีคุณสมบัติเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดซึ่งลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปมีการกำหนดไว้ตาม มาตรา 9 e-Signature ของกฎหมายดังกล่าว ************************************************************************************************************************************** ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์สำคัญอย่างไร และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปคืออะไร ? “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป” เป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ ที่เป็นอักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในมาตรา 9 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ตัวอย่าง เช่น การพิมพ์ชื่อไว้ท้ายเนื้อหาของอีเมล การสแกนภาพของลายมือชื่อที่เขียนด้วยมือและแนบไปกับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ การใช้สไตลัส(stylus) เขียนลายมือชื่อด้วยมือลงบนหน้าจอและบันทึกไว้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์  การคลิกปุ่มแสดงการยอมรับหรือตกลง การทำเครื่องหมายในช่องแสดงการยอมรับ การใช้ระบบงานอัตโนมัติ…