มาตรฐาน IFRS
มาตรฐานสากลรายงานทางการเงิน (IFRS) คืออะไร
มาตรฐาน IFRS คือ มาตรฐานสากลเกี่ยวกับรายงานทางการเงิน ซึ่งได้ระบุกฏพื้นฐานขึ้น เพื่อให้งบการเงินทั่วโลกมีรูปแบบที่มีความสอดคล้อง โปร่งใส และเปรียบเทียบได้ มาตรฐานดังกล่าวของ IFRS นี้ ถูกประกาศโดย IASB (คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ) ซึ่งกำหนดว่าบริษัทต่างๆ จะต้องปฏิบัติอย่างไรบ้างในการรายงานบัญชี นิยามรูปแบบของรายการธุรกรรม และเหตุการณ์อื่นๆ ที่ส่งผลกระทบทางการเงิน
IFRS จึงถูกประกาศเพื่อสร้างภาษาบัญชีที่เป็นสากล เพื่อให้ธุรกิจ และงบการเงินสามารถเป็นไปได้อย่างสอดคล้อง และไว้ใจได้จากบริษัทสู่บริษัท และจากประเทศสู่ประเทศ
เกร็ดความรู้
- มาตรฐานสากลรายงานทางการเงิน (IFRS) ถูกประกาศเพื่อนำมาซึ่งความสอดคล้องในการมีมาตรฐานทางบัญชีและทางปฏิบัติซึ่งสามารถปฏิบัติใช้ได้กับทุกบริษัทและทุกประเทศ
- มาตรฐานสากลรายงานทางการเงิน (IFRS) ถูกประกาศโดย IASB (คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ) ในการรายงานบัญชี นิยามรูปแบบของรายการธุรกรรมและ เหตุการณ์อื่นๆ ที่ส่งผลกระทบทางการเงิน
- มาตรฐานนี้ส่งผลดีต่อบริษัทและบุคคลในการมีความโปร่งใสภายในองค์กรที่มากขึ้นข้อเสียของ IFRS คือมันไม่เป็นสากลเนื่องจากสหรัฐอเมริกาใช้มาตรฐาน GAAP และอีกหลายประเทศใช้มาตรฐานอื่นๆ
ทำความเข้าใจมาตรฐานสากลรายงานทางการเงิน (IFRS)
IFRS ถูกออกแบบมาให้นำมาซึ่งความสอดคล้องของภาษาทางบัญชีหลักปฏิบัติ และงบการเงิน เพื่อช่วยธุรกิจ และผู้ลงทุนสามารถตัดสินใจ และวิเคราะห์เชิงการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐานนี้มีเพื่อนำมาซึ่งความโปร่งใสการตรวจสอบได้ และประสิทธิผลต่อตลาดการเงินทั่วโลก ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นการเติบโต และความมั่นคงทางการเงินในระยะยาวในเศรษฐกิจโลกบริษัทต่างๆ ได้รับประโยชน์จากมาตรฐานนี้ เพราะผู้ลงทุนมีแนวโน้มที่จะมอบเงินลงทุนต่อบริษัทที่มีความโปร่งใสในการปฏิบัติจัดการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ สหรัฐอเมริกา (SEC) ได้กล่าวไว้ว่า จะไม่เปลี่ยนไปใช้ IFRS แต่จะยังคงดำเนินการตรวจสอบการนำเสนอมาตรฐานนี้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลเสริมในการยื่นงบการเงิน GAPP ถูกเรียกว่าเป็น ”มาตรฐานสีทอง” สำหรับการบัญชี อย่างไรก็ตาม มีการโต้แย้งว่าการที่ทั่วโลกใช้มาตรฐานสากลรายงานทางการเงิน (IFRS) จะช่วยประหยัดเงินของการทำงานบัญชีซ้ำซ้อน และช่วยประหยัดค่าวิเคราะห์ รวมถึงเปรียบเทียบบริษัททั่วโลก
IFRS ถูกสับสนกับ IAS (มาตรฐานสากลการทำบัญชี) ซึ่งมีมานานกว่า IFRS โดยประกาศเมื่อปี ค.ศ. 1973-2000 และ IASB (คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ) มาแทนที่ด้วย IASC (คณะกรรมการมาตรฐานการทำบัญชีสากล) เมื่อปี 2001 IFRS ถูกใช้งานในอย่างน้อย 120 ประเทศในปี 2020 รวมถึงประเทศใน EU และหลายหลายประเทศในเอเชียอเมริกาใต้ อย่างไรก็ตามสหรัฐอเมริกายังใช้งานมาตรฐาน GAAP (หลักการบัญชีที่ยอมรับโดยทั่วไปของสหรัฐอเมริกา)
ข้อกำหนดมาตรฐานสากลรายงานทางการเงิน (IFRS)
IFRS เป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมหลากหลายกิจกรรมทางการบัญชี มีบางมุมธุรกิจที่ถูกกำหนดข้อบังคับไว้อย่างชัดเจน
- มาตรฐานนี้มีอิทธิพลต่อตัวเลขและข้อมูลต่างๆที่จะต้องถูกแสดงในงบแสดงฐานะทางการเงิน(Statement of Financial Position)
- งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (statement of comprehensive income) สามารถส่งเป็นชุดเดียวหรือแยกชุดกำไร และขาดทุนได้รวมถึงงบรายได้อื่นๆ ซึ่งครอบคลุมไปถึงที่ดิน และอุปกรณ์ต่างๆ
- งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสุทธิ (Statement of changes in equity) เอกสารชุดนี้จะต้องระบุการเปลี่ยนแปลงของเงินสุทธิไม่ว่าจะเป็นการกำไร หรือ ขาดทุนในช่วงการเงินนั้นๆ
- งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flows) เป็นการสรุปการทำธุรกรรมทางการเงินของบริษัทในแต่ละช่วงการเงินสามารถจำแนกเป็นงบการดำเนินธุรกิจ การลงทุน และการจัดการทางการเงิน
นอกจากรายงานพื้นฐานเหล่านี้ บริษัทจะต้องยื่นสรุปนโยบายทางการบัญชีด้วย รายงานฉบับเต็มมักจะถูกพิจารณาไปพร้อมๆกับรายงานฉบับก่อนหน้า เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นกำไรแล้วขาดทุนบริษัทแม่จะต้องสร้างรายงานบัญชีแยกสำหรับแต่ละบริษัทลูก
MODULE AND FEATURE
- รับและจัดเก็บข้อมูล
- รับข้อมูลโดยวิธีถ่ายโอนข้อมูล หรือ โดยวิธี Import ข้อมูลจากไฟล์ประเภท .txt, .xls, .xlsx
- จัดเก็บข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณแบบจำลอง ECL Model และจากผลของการคำนวณการด้อยค่า และตั้งสำรอง
- การสร้างแบบจำลอง ECL Model
- แบ่งกลุ่มข้อมูล (Portfolio Segmentation)
- ผลตอบแทนเงินที่ได้รับชำระคืน (Recovery)
- หากลุ่มข้อมูลที่ผิดปกติ (Outlier) โดยใช้วิธีการทางสถิติ
- ประมาณการณ์เวลาตลอดอายุสัญญา (Timing)
- อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ปรับด้วยความเสี่ยงด้านเครดิต (CEIR)
- อัตราความสำเร็จของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
- คำนวณอัตราความสำเร็จของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
- อัตรา CEIR
- คำนวณอัตรา CEIR ตามประเภทลูกค้า
- การด้อยค่าเพื่อกันสำรอง
- คำนวณการด้อยค่าเพื่อกันสำรองตามประเภท หรือ กลุ่มของลูกค้า
- การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนแปลง
- นำแบบจำลอง ECL Model มาใช้กับลูกค้าคงเหลือในช่วงการเปลี่ยนแปลง
- Setting and Configuration
- ระบบมีความยืดหยุ่น ปรับเพิ่ม ลด ตัวแปรต่างๆ ที่ใช้ในการคำนวณแบบจำลอง ECL Model
- คำนวณการด้อยค่าเพื่อกันสำรองได้ โดยไม่ต้องปรับแก้ไขโปรแกรม