Windows Virtual Desktop
ทางเลือกที่ดี ถ้าคุณต้องการทำงานที่บ้าน โดย IT Admin เพราะสามารถที่จะให้บริการการทำงาน ได้เหมือนกับ พนักงาน มานั่งใช้เครื่องใน Office ทีเดียว
Windows Virtual Desktop เป็นบริการ virtualization ที่ยกเอาเดสก์ท็อป ทั้งแอป ข้อมูลและไฟล์ต่าง ๆ ขึ้นไปรันเอาไว้บนคลาวด์ Microsoft Azure ช่วยให้พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลภายในองค์กรได้จากที่บ้าน จากเครือข่ายไหนก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องยกแล็บท็อปของพีซีกลับบ้าน และองค์กรก็ไม่ต้องเปิดเซิร์ฟเวอร์หรือพีซีของออฟฟิศเอาไว้ตลอดเวลา
Windows Virtual Desktop รองรับการใช้งานหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ Windows 10, Windows 10 แบบ Multi-session, Windows Server ไปจนถึง Windows 7 (ในกรณีที่องค์กรยังคงใช้ Windows 7 แบบซื้อซัพพอร์ทอยู่) องค์กรที่มีไลเซนส์ Microsoft 365, Microsoft 10 Enterprise หรือ Windows VDA อยู่แล้วสามารถนำไลเซนส์มาใช้บน Windows Virtual Desktop ได้ด้วย
ประสบการณ์ใช้งานที่เหมือนเดสก์ท็อปจริง
ในมุมของผู้ใช้งานการใช้ ระบบ สะดวกเพียงแค่ล็อกอินผ่านเบราว์เซอร์เท่านั้น แอดมินสามารถกำหนดได้ว่าให้ผู้ใช้แต่ละคนจากแต่ละฝ่ายงานสามารถใช้งานแอปอะไร หรือเข้าถึงข้อมูลในเดสก์ท็อปได้มากน้อยแค่ไหน เช่น ฝ่ายบุคคลมีเฉพาะแอป HR, ฝ่ายจัดซื้อหรือฝ่ายบัญชีใช้งาน Excel เป็นต้น
หน้าตาของ ระบบ เหมือนกับเดสก์ท็อปตัวเต็มทุกประการ มีฟีเจอร์และฟังก์ชันต่าง ๆ เหมือนการใช้งานพีซีวินโดวส์จริงๆ ทำให้การทำงานไม่สะดุด ผู้ใช้งานไม่ต้องเรียนรู้อะไรใหม่มากมายนัก
ต้นทุนที่ถูกกว่าบนความปลอดภัยที่มากกว่า
เพราะเป็นการรันเดสก์ท็อปบน Microsoft Azure จึงได้ประโยชน์จากคลาวด์มาเต็ม ๆ ตั้งแต่ความยืดหยุ่น สามารถเพิ่มหรือลดจำนวนฮาร์ดแวร์ virtualization ได้ตามการใช้งานจริง เมื่อต้องการขยายสามารถสั่งซื้อเพิ่มได้ทันทีในไม่กี่คลิก ไม่ต้องซื้อไว้ก่อนเผื่อเอาไว้ขยายทีหลัง ตอบโจทย์องค์กรตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ประหยัดต้นทุนเพราะองค์กรไม่ต้องลงทุนกับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ virtualization ล่วงหน้า และตัดปัญหาเรื่องบำรุงรักษาด้วย
- Reference
- คำนวนค่าใช้จ่ายการใช้งาน Window VDI ได้ที่ตรงนี้ครับ
- Implement Azure
Win VDI คือบริการเครื่องจำลองเสมือนของ Win ที่วางอยู่บน Azure (มองว่าเป็นเครื่องคอมของออฟฟิศที่ไปตั้งอยู่บนคลาวด์) โดยพนักงานขององค์กรจะสามารถใช้แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือโน๊ตบุ๊ค รีโมตผ่านบราวเซอร์ไปใช้ Virtual Desktop บนคลาวด์ได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าสะดวกและไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมให้กระทบ User Experience ของผู้ใช้งาน
ประหยัดกว่าด้วยความสามารถของ Windows 10 Enterprise Multi-Session
Windows 10 Enterprise Multi-session เป็น OS พิเศษที่เกิดขึ้นมาสำหรับการให้บริการเฉพาะบน Win VDI เท่านั้น(ไม่มีบน On-premise) โดยไอเดียก็คือ 1 เครื่องสามารถเปิดรีโมตให้ผู้ใช้งานหลายคน ทั้งนี้จึงสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายขององค์กรได้อย่างมีนัยสำคัญ เพราะไม่จำเป็นต้องสร้างเครื่องให้เท่าจำนวนคน นอกจากนี้เดิมทีถ้าองค์กรต้องการโซลูชันเช่นนี้ต้องไปตั้งเซิร์ฟเวอร์และเกตเวย์เพื่อให้บริการ RDS แต่ ระบบ เป็น Managed Service ที่รอเพียงแค่ผู้ใช้ Provision เครื่อง และเริ่มใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องมาบริหารจัดการเซิร์ฟเวอร์ใดๆ เลย
แต่อย่าเพิ่งเข้าใจผิดเพราะไม่ได้หมายความว่า จะให้บริการได้แบบ Multi-session ได้เท่านั้น แต่ยังสามารถรองรับการทำโหมด Personal Desktop (1 คนต่อ 1 เครื่อง) ในกรณีที่องค์กรต้องการจองเครื่องส่วนตัวให้พนักงานก็ทำได้เช่นกัน
Microsoft จัดการข้อมูลผู้ใช้งานหลายคนได้อย่างไร
Microsoft มีโซลูชันที่ชื่อ FSLogix ที่ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้งานในสภาพแวดล้อมแบบ Virtual โดยมีการทำ Profile Container แยกเป็น Virtual disk และจะถูก Mount เข้ากับ VHDX หรือ VHD ตอนที่ผู้ใช้ล็อกอินเข้ามา (Run time) ด้วยเหตุนี้เองจึงสามารถแบ่งเลเยอร์ข้อมูลของผู้ใช้งานในสภาพแวดล้อมแบบใช้งานเครื่องร่วมกันได้
ตอบโจทย์ Security ด้วยการควบคุมการเข้าถึงในระดับแอปพลิเคชันและลดโอกาสข้อมูลรั่วไหลออกนอกองค์กร
ผู้ดูแลระบบขององค์กรสามารถ Provision เครื่อง Desktop เป็นรายแอปพลิเคชันไปได้ (ตามรูปด้านบน) ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับบางองค์กรที่พนักงานไม่จำเป็นต้องมีสิทธิ์เข้าถึงทั้งเครื่อง นอกจากนี้ระบบยังไม่อนุญาตให้พนักงานคัดลอกข้อมูลจากเครื่องบน Virtual Desktop ออกไปยังเครื่อง Local ด้วยเหตุนี้เององค์กรจึงมีสิทธิ์จำกัดการเข้าถึงเครื่อง Desktop ได้อย่างเฉพาะและไม่ต้องกลัวข้อมูลรั่วไหลออกนอกองค์กร
อีกเรื่องที่ขาดไม่ได้เลยเมื่อพูดถึงเรื่อง Authorization คือ ระบบ จำเป็นต้อง Sync กับ Active Directory โดยรองรับทั้งการ Sync จาก Azure AD หรือ On-premise AD Server ขององค์กร ด้วยเหตุนี้เองจึงสามารถตอบโจทย์การใช้งานในระดับองค์กร
ยืดหยุ่นกว่าเพราะ เพิ่ม ลด Resource อัตโนมัติตามการใช้งาน คุมค่าใช้จ่ายได้ตามจริง
มาถึงตรงนี้หลายคนอาจมีคำถามเกิดขึ้นว่าแล้วเครื่องที่อยู่บนคลาวด์จำเป็นต้องเปิดรอตลอดหรือไม่ ซึ่งตรงนี้เอง Azure ได้มีระบบ Script อัตโนมัติที่สามารถทำ Scale-down เครื่องได้ กรณีที่มีผู้ใช้งานน้อยลง หรือกำหนดปิดเครื่องได้ตามเวลาทำงานปกติ เช่นเปิดแค่วันจันทร์-ศุกร์เท่านั้น ด้วยเหตุนี้เององค์กรจึงสามารถคุมค่าใช้จ่ายได้ตามจริง ในทางกลับกันหากมีโหลดการใช้งานเพิ่ม ระบบ ก็สามารถขยาย Resource เพิ่มให้รองรับความต้องการได้เช่นกัน
นอกจากนี้เพื่อความยืดหยุ่นในการใช้งานอย่างแท้จริง Azure ยังมีการทำ Load Balance ผู้ใช้งานที่ล็อกอินเข้ามากับเครื่อง Desktop ใน Pool โดยผู้ดูแลองค์กรจะสามารถเลือก Load Balance Algorithm ได้ 2 แบบระหว่าง Breath Mode หรือการกระจายวนกันไปทุกเครื่อง (Round Robin) และ Depth Mode หรือการโยน Session ให้เต็มทีละเครื่องก่อน เพราะฉะนั้นเมื่อเครื่องใน Pool มีเกินจำนวนผู้ใช้งาน Azure จึงสามารถลดหรือขยายจำนวนเครื่องได้ตามความต้องการ
ปรับแต่ง Image ได้ตามความต้องการขององค์กร
สามารถรองรับ Image ที่องค์กร Customize ขึ้นมาเองให้เพื่อตอบโจทย์กับลักษณะการใช้งานของแต่ละองค์กรได้ หรือจะเลือกใช้ Gallery Image ที่มีมาให้แล้วดังนี้
- Windows 10 Enterprise multi-session with Office 365 ProPlus
- Windows 10 Enterprise multi-session
- Windows 10 Enterprise
- Windows Server 2016