Mendix คือ
Software Tool แบบ Low code ตัวหนึ่งในท้องตลาด ซึ่งปัจจุบันระบบงาน Lowcode เป็นที่นิยมในการพัฒนาระบบ Application ภายในองค์กร แทนการเขียน Code แบบเดิม ๆ ซึ่งมีข้อได้เปรียบเรื่องการพัฒนาระบบทำได้เร็ว แต่ก็ต้องแลกมาด้วยต้นทุนค่าใช้จ่ายในการพัฒนา ที่มากกว่าปกติ
ประวัติของ Mendix
เป็นสตาร์ทอัพจากเนเธอร์แลนด์ ก่อตั้งเมื่อปี 2005 โดยมีวิสัยทัศน์ว่าการพัฒนาซอฟท์แวร์จะเพิ่มขึ้นอย่างมากทำให้บุคคลากรไม่เพียงพอ และต้องมีเครื่องมือช่วยพัฒนาได้เร็วยิ่งขึ้น จึงกำเนิด low-code platform เป็นเจ้าแรกๆของโลก ต่อมา Siemens ได้เข้าซื้อกิจการเมื่อปี 2018 โดย เข้ามาให้บริการในไทยตั้งแต่ปี 2008
เครื่องมือภายในแพลตฟอร์ม ที่นำมาใช้พัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันจะถูกออกแบบมาในรูปแบบ Visualize ซึ่งเป็นการสร้างบล็อคชุดคำสั่งแล้วอาศัยการ Drag & Drop เพื่อเชื่อมโยงคำสั่งต่างๆ เข้าด้วยกันจนออกมาเป็น Flowchart ด้วยวิธีการที่เข้าใจง่าย และ ลดกระบวนการที่ไม่จำเป็น ทำให้ผู้ใช้งาน สามารถลดการเขียนโค้ดแบบดั้งเดิมลง (Low-coding) หรือในบางกรณีก็ไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดได้ (No-Coding)
สำหรับ Low Code ที่นิยมที่สุดในไทย 3 อันดับแรกคือ
- Microsoft อันดับ 1 ชื่อว่า Power Apps
- OutSystem พอ ๆ กับ Mendix
สาเหตุที่ Mendix ยังสู้ Microsoft ไม่ได้เนื่องจาก PowerApps ของ Microsoft มีผู้ใช้มากกว่ามาก เพราะให้มาฟรี พร้อมกับ Microsoft 365 ซึ่งถึงจะแจกฟรี แต่ความสามารถของ PowerApps เองไม่ได้น้อยไปกว่า ยี่ห้ออื่น และยังมีจุดแข็งที่เจ้าอื่น ๆ ทำไม่ได้คือ ความสามารถในการเชื่อมต่อกับระบบอื่น ของ Microsoft ได้อย่างง่ายดาย รวมทั้งทำงานร่วมกับ RPA จาก Microsoft Automate Desktop ด้วย
เมื่อตรวจดูข้อมูลจาก Web เปรียบเทียบ Mendix กับ Microsoft แล้ว พบว่า จำนวน user จำนวน User ที่มา Review ต่างกันถึง 2 เท่า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความนิยมในระดับโลก
รายละเอียดเกี่ยวกับ Low Code
low code platform คือ เครื่องมือในการพัฒนา Application ใน Style Agile ที่เน้นความรวดเร็วเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งถือว่าเป็นแนวทางใหม่ในการพัฒนาระบบเมื่อเทียบกับการพัฒนาแบบเดิม ที่ต้องใช้เวลาหลักเดือน เมื่อใช้ Low code อาจจะทำได้ในเวลาเพียงไม่กี่วัน ก็สามารถพอเห็นภาพและทดสอบการใช้งานได้แล้วแต่ในความเร็วก็มีจุดที่ต้องคำนึง คือ ค่า over head ที่คิดเป็นต่อ User ที่เป็นหลักหลายร้อยบาท ที่เราต้องจ่ายให้ต่อเนื่องกับการใช้งานระบบ
Power Apps by Microsoft
PowerApps ถูกออกแบบมาให้เป็นแพลตฟอร์มการพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่ไม่ต้องเขียน Code เพื่อให้รองรับ Application การใช้งานที่หลากหลายจากผู้ใช้และขยายความสามารถ Office 365 ที่ใช้งาน ณ. ปัจจุบัน โดยการพัฒนาระบบสามารถนำไปใช้ได้ทั้ง Desktop และ Mobile ( IOS and Android ) โดยเป็นการพัฒนาเพียงครั้งเดียวสามารถนำไปใช้ได้ทั้ง 2 ระบบ
เราสามารถนำมาพัฒนา Application สำหรับงานทั่วๆ ไป และนำไปใช้แทนการพัฒนาด้วย PHP , Java , C# , VB ได้ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาที่เร็วกว่าแบบเดิม ๆ ( ในกรณีที่ App ไม่ซับซ้อน มีการบันทึกแบบหน้าเดียวจบ ) แต่ประเด็นคือ user ต้องมี License อยู่ด้วย ซึ่ง Total budget แล้ว จะแพงกว่าถ้ามี User จำนวนมาก
Power Apps เป็นส่วนหนึ่งของ Microsoft Power Platform สามารถนำมาพัฒนา E-Form ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ใช้งานง่าย และเป็นที่นิยมมาก
ตัวอย่างการพัฒนาระบบแบบ Low Code ด้วย PowerApps ( Microsoft )
สอนวิธีใช้ Power Automate Desktop สำหรับจัดการข้อมูลใน Excel
Reference