ติดตั้ง Payment Gateway
วิธีการ ติดตั้ง Payment Gateway บนบริการทางออนไลน์ สามารถติดตั้งได้ 2 รูปแบบ ดังนี้
- การติดตั้งระบบทาง Payment Gateway Bank : จำเป็นต้องเชื่อมเข้ากับ API ที่ทางธนาคารส่งมาให้ เมื่อลูกค้าดำเนินรายการ ตัวระบบจะส่งข้อมูลไปให้ทางธนาคารช่วยดำเนินการตัดบัตรเครดิตหรือเดบิตให้
- การติดตั้งระบบทาง Payment Gateway Non-Bank : ทางผู้ให้บริการจะมีระบบให้เราสามารถติดตั้งลงบนบริการออนไลน์ของเราในแต่ละแพลตฟอร์มโดยตรง ลูกค้าจะต้องเป็นสมาชิกของผู้ให้บริการตัวกลางต่าง ๆ ก่อน และทำการผูกบัญชีเข้ากับตัวกลางเหล่านั้น จึงจะสามารถดำเนินการชำระเงินได้ นอกจากนี้ผู้ให้บริการตัวกลางต่าง ๆ จะมีระบบหลังบ้าน ที่ช่วยให้เราเข้าไปเช็คยอดการทำรายการของลูกค้าได้อีกด้วย
*******************************************************************************************************************************
ความปลอดภัยของระบบ Payment Gateway
Payment Gateway แต่ละแบบจะมีการรับรองมาตราฐานความปลอดภัยด้านการเก็บรักษาข้อมูล ตามมาตรฐานความปลอดภัยของธุรกิจการรับชำระเงินแทน PCI DSS จากผู้ตรวจประเมินอิสระอยู่เสมอ ดังนั้นคุณจึงสามารถมั่นใจได้ว่า ผู้ให้บริการ Payment Gateway ต่าง ๆ สามารถ เก็บรักษา ประมวลผล และรับส่งข้อมูลบัตรเครดิตหรือเดบิตได้อย่างปลอดภัย ตามนโยบายและข้อกำหนดในระดับสากล
ในทางฝั่งธนาคารจะมีการรองรับมาตราฐานความปลอดภัยจากการ Verified บัตรเครดิตหรือเดบิตของลูกค้า ทำให้สามารถตรวจสอบความเป็นเจ้าของบัตรและเก็บข้อมูลการทำรายการของลูกค้าผู้ถือบัตรไว้ได้อย่างครบถ้วน สามารถใช้เป็นหลักฐานยืนยันกรณีลูกค้าผู้ถือบัตรปฏิเสธการชำระเงินได้
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะฝั่ง Bank หรือ Non-Bank ผู้ให้บริการเป็นตัวกลางจะเป็นผู้ดำเนินการรับผิดชอบความเสี่ยงของลูกค้าไว้ทั้งหมด อาทิการขอคืนเงิน การปฎิเสธการจ่ายเงิน หรือกรณีอื่น ๆ ทำให้ปัญหาไม่ตกมายังผู้ใช้บริการอย่างคุณโดยตรง
*******************************************************************************************************************************
วิธีการใช้งาน Payment Gateway อย่างปลอดภัย
- ตรวจสอบการใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้ดี โดยการเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตจากเครือข่ายมือถือ เช่น True, AIS, Dtac มักจะปลอดภัยสูงกว่าการเชื่อมต่อผ่านสัญญาณ Wifi สาธารณะ เนื่องจากมิจฉาชีพอาจใช้เป็นช่องทางในการสวมรอยขโมยข้อมูลบนบัตรไปใช้งาน
- ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของอีเมลล์จากธนาคารที่ส่งมาทุกครั้ง เนื่องจากมิจฉาชีพมักใช้เป็นช่องทางในการปลอมแปลงเป็นธนาคาร เพื่อหลอกเก็บเงินค่าบริการ หรือ หลอกดูดข้อมูลจากผู้ใช้งาน ทางที่ดีควรติดต่อสอบถามทางธนาคารโดยตรงก่อนกดยืนยันใดๆ ผ่านอีเมลล์
- การตั้งรหัสผ่านควรเป็นความลับสูงสุด เนื่องจากทุกการชำระเงิน หรือ ทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบออนไลน์ ทั้งจาก Internet banking และ Mobile banking มักเชื่อมต่อกับข้อมูลบัตรทั้งหมด ดังนั้น หากมีมิจฉาชีพรู้รหัสบัตรเชื่อมต่อการใช้งาน ก็จะทำให้เจ้าของบัตรโดนโจรกรรมข้อมูล รวมถึงมียอดใช้จ่ายที่ไม่ได้ตั้งใจ ทางธนาคารจึงนิยมใช้การยืนยันตัวตนผ่านรหัส OTP ที่ผูกไว้กับเบอร์โทรศัพท์คุณโดยตรง
*******************************************************************************************************************************
ข้อดีของการเลือกใช้ Payment Gateway
ทางด้านธุรกิจ
- ติดตั้งสะดวก ขั้นตอนง่ายดาย ไม่ซับซ้อน
- มีระบบป้องกันข้อผิดพลาด เช่น คืนเงินลูกค้าทันทีเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้น
- มีความปลอดภัยสูงกว่าการชำระเงินทั่วๆ ไป
- ระบบพร้อมให้ใช้งาน เพียงแค่สมัครขอใช้บริการ จากนั้นก็ทำตามขั้นตอนเริ่มใช้งานระบบได้ทันที
- ระบบสามารถแจ้งเตือนอัตโนมัติได้ทันที หากลูกค้ามีการชำระเงินเข้ามา สะดวกต่อการตรวจสอบข้อมูล โดยไม่ต้องไปไล่เช็คสลิปโอนเงินให้วุ่นวาย
- มั่นใจในระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เช่น ระบบป้องกันรายละเอียดของบัตร เนื่องจากมีการตั้งรหัสป้องกันเอาไว้เรียบร้อย
ทางด้านลูกค้า
- สามารถเลือกสรรช่องทางการชำระเงินที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
- เลือกชำระเงินผ่านบัตร ได้ทั้งแบบบัตรเครดิต และบัตรเดบิต
- เป็นระบบการทำงานแบบออนไลน์ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาไปธนาคารด้วยตนเอง
- มีค่าธรรมเนียมการชำระเงิน ในบางกรณี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคารที่รองรับ
*******************************************************************************************************************************
คำศัพท์ควรรู้ที่เกี่ยวข้องกับ Payment gateway
- E-payment (Electronic Payment System): การชำระเงิน หรือ ทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบออนไลน์ เช่น ผ่าน Internet ผ่านมือถือสมาร์ทโฟนต่างๆ ที่รองรับ เป็นต้น
- Payment Gateway : ช่องทางการชำระเงินแบบออนไลน์ ที่สามารถเลือกชำระค่าบริการ หรือ จ่ายเงินซื้อของได้อย่างรวดเร็ว โดยมีช่องทางให้เลือกทั้งแบบผ่านธนาคารโดยตรง และแบบตัวกลางชำระเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร
- Internet Banking: หนึ่งในช่องทางการชำระเงิน หรือ ทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งสามารถใช้งานได้ทั้งจากคอมพิวเตอร์ หรือ จาก Application โดยธนาคารที่รองรับ ซึ่งมีความน่าเชื่อถือ และมีความปลอดภัยสูง
- Mobile Banking : หนึ่งในช่องทางการชำระเงิน หรือ ทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งใช้งานผ่านแอพพลิเคชั่นของธนาคารบนระบบมือถือสมาร์ทโฟน
- OTP (One Time Password): รหัสใช้งานแบบครั้งเดียว เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบออนไลน์ เนื่องจากใช้ตรวจสอบรหัสที่เชื่อมต่อกับบัตรเครดิต ผ่านเบอร์โทรศัพท์เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล
- Debit Cards: บัตรที่ผูกไว้กับบัญชีเงินฝาก ใช้สำหรับกดเงินสด หรือ ทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบออนไลน์ โดยการใช้จ่ายผ่านบัตรจะถูกหักออกจากบัญชีเงินฝากที่ผูกไว้กับธนาคารโดยตรง
- Credit Cards: บัตรสินเชื่อบุคคลธรรมดา ใช้สำหรับทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบออนไลน์ โดยวงเงินการใช้งานจะถูกกำหนดจากธนาคารเจ้าของบัตร และเมื่อถึงยอดใช้จ่ายที่กำหนด ผู้ใช้ก็ต้องทำการชำระยอดค่าใช้จ่ายตามจำนวนแก่ธนาคารในระยะเวลาที่กำหนด
- CVV: รหัส 3 ตัว มักอยู่ด้านหลังบัตรเครดิต และบัตรเดบิท ตรงแถบสแกน ใช้สำหรับยืนยันตัวตนของเจ้าของบัตรเมื่อทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบออนไลน์