จากประสบการณ์เรื่องการพัฒนาระบบประเมินทรัพย์สินให้กับธนาคาร และ เคยทำระบบประเมินคุณภาพทรัพย์ให้กับหน่วยงานขนาดใหญ่ในประเทศ ทำให้ผมเห็นถึงความเป็นไปได้เรื่องการสร้าง Model ในการประเมินทรัพย์ขึ้นมาครับ
ทำไมผมถึงรู้สึกว่าระบบนี้ควรจะถูกพัฒนา ก็เนื่องจากขั้นตอนของธนาคารเรื่องการประเมินมี คนที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ใช้เวลานาน และ วุ่นวายมาก เริ่มจากการยื่นเรื่อง นัดหมาย และ ค่าใช้จ่ายที่ไม่น้อยเลยสำหรับการเรียกประเมินในแต่ละครั้ง
ปัจจุบันการประเมินจะมีสมาคมที่เป็นหน่วยงานหลักที่สร้างมาตราฐานเรื่องการประเมิน ตัวมาตราฐานเองก็จะกำหนด หัวข้อที่ต้องทำการประเมิน แนวทางการประเมิน ทำให้แนวทางการทำงานของแต่ละธนาคารเหมือน ๆ กัน เพียงแต่ว่าแต่ละธนาคารจะมีค่าตัวแปลบางตัว ที่ปรับเปลี่ยนไปตามนโยบาย จะทำให้มูลค่าการประเมินของแต่ละที่ต่างกัน รวมถึง การทำข้อมูลเปรียบเทียบกับทรัพย์สินข้างเคียงเอง ก็มีผลต่อราคาประเมินด้วย
เช่น ทรัพย์ของเราที่ซื้อมามูลค่าทั้งหมด 10 ล้านบาท ทางเจ้าหน้าที่ประเมินก็ให้มูลค่าที่ 10 ล้านบาท แต่พอมาถึงธนาคาร ตัวเลขอาจจะเป็น 5 ล้านบาทก็ได้ ก็เพราะข้างบ้านของเราทาง ธนาคารเคยประเมินมาได้ราคา ที่ 5 ล้าน ดังนั้นธนาคารจึงไม่สามารถให้มูลค่าทรัพย์สินที่ 10 ล้านได้ แบบนี้
และการประเมินราคาผลที่ได้ ยังขึ้นกับวัตถุประสงค์ในการประเมินด้วย การประเมินเพื่อยื่นภาษี ก็ใช้วิธีการประเมินแบบหนึ่ง แต่ถ้าเพื่อยื่นกู้ก็ใช้อีกวิธี
ความเป็นไปได้ในการสร้าง Model ในการประเมิน
- เป็นไปได้ เนื่องจากในประเทศไทยมีมาตราฐานในการเก็บข้อมูลประเมินอยู่ทำให้ทุกธนาคารมีมาตราฐานที่ใกล้เคียงกัน
- ข้อมูลสิ่งแวดล้อม เป็นข้อดีอีกเรื่องหนึ่งเนื่องจากธนาคารมีการเก็บข้อมูล ชุดพวกนี้ไว้จำนวนมาก และจัดเก็บอย่างเป็นระบบทำให้การนำข้อมูลมาทำการประเมินร่วม ทำได้ไม่ยาก
- ทางบริษัทมีประสบการณ์เรื่องระบบประเมินมาโดยตรง
สนใจระบบประเมินทรัพย์สินด้วยระบบ Data Model ( Business Intelligent ) สามารถติดต่อ Fusion ได้ครับ เราพร้อมให้บริการ