ความสำคัญ IFRS คืออะไร ใครเป็นผู้ใช้งานหลัก
มาตรฐานสากลรายงานทางการเงิน (IFRS) ได้ระบุกฎพื้นฐานขึ้นเพื่อให้งบการเงินทั่วโลกมีรูปแบบที่มีความสอดคล้อง โปร่งใส และเปรียบเทียบได้ มาตรฐาน IFRS ถูกประกาศโดย IASB (คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ) ซึ่งมีความแตกต่างจากมาตรฐาน GAAP ที่สหรัฐอเมริกาใช้งาน โดยจะอธิบายรายละเอียดความแตกต่างในหัวข้อถัดๆ ไป ความสำคัญ IFRS อยู่ตรงที่มันสามารถช่วยคงไว้ซึ่งความโปร่งใส และความน่าเชื่อถือในตลาดการเงินโลก และยังเป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หากไม่มี IFRS นักลงทุนย่อมเชื่อใจงบการเงินได้ยากกว่า ส่งผลให้เกิดการทำธุรกรรมน้อยลง และมีค่าทำธุรกรรมสูงขึ้น ตลาดก็จะหดตัวลง นอกจากนี้ยังทำให้ผู้สนใจลงทุนสามารถเปรียบเทียบระหว่างบริษัทได้ง่ายขึ้น เพื่อวิเคราะห์เชิงพื้นฐานบริษัท A/B ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
**********************************************************************************************************************************
ประวัติศาสตร์ของ IFRS
IFRS ถือกำเนิดขึ้นที่ EU ด้วยจุดประสงค์ที่จะทำให้กิจการธุรกิจ และการบัญชี สามารถเข้าถึงได้จากทุกทวีป แนวคิดนี้ได้แพร่ไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วในฐานะภาษากลางในเชิงบัญชี ถึงแม้สหรัฐอเมริกา และบางประเทศไม่ใช้ IFRS แต่ประเทศอื่นๆ ใช้กันอย่างแพร่หลาย ทำให้ IFRS กลายเป็นมาตรฐานระดับโลกในที่สุด หากสนใจอยากทราบรายละเอียดข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์เพิ่มเติม สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎ และประวัติศาสตร์ได้ที่เว็บไซต์ IFRS website
เป้าหมาย คือ ทำให้การเปรียบเทียบง่ายที่สุดที่จะเป็นไปได้ ซึ่งเป้าหมายนั้นก็ยังไม่สำเร็จเต็ม 100% เพราะประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนาดา รวมถึงประเทศอื่นๆ ที่ยังใช้มาตรฐานอื่นๆ ที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง การเชื่อมมาตรฐานเข้าด้วยกันจึงเป็นงานที่ยังดำเนินต่อไปในแวดวงการทำบัญชีสากล
**********************************************************************************************************************************
IFRS ต่างกับ GAAP อย่างไร
IFRS นั้นมีแตกต่างกับ GAAP (หลักเกณฑ์ทางบัญชีที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป) ของประเทศอื่นๆ ซึ่งส่งผลต่อวิธีการคำนวนอัตราส่วนทางการเงิน ยกตัวอย่าง เช่น IFRS ไม่เข้มงวดในด้านการระบุตัวเลขผลกำไร ส่งผลให้บริษัทสามารถระบุตัวเลขได้เร็วขึ้น งบการเงินที่จัดทำภายใต้ระบบนี้อาจแสดงตัวเลขที่สูงกว่างบการเงินที่จัดทำภายใต้ระบบ GAAP ไม่เพียงเท่านั้น IFRS ยังมีข้อกำหนดด้านรายจ่ายที่แตกต่างไป ยกตัวอย่าง เช่น หากบริษัทใช้เงินในการพัฒนา หรือ การลงทุนสำหรับอนาคตบริษัทนั้นไม่จำเป็นต้องรายงานว่าเป็นรายจ่าย (มองว่าใช้เป็นเงินทุน)
นอกจากนี้ IFRS และ GAAP ยังแตกต่างกันในด้านการระบุเจาะจงในการลงบัญชีสินค้า มีสองวิธีในการติดตามตัวเลขเหล่านี้ คือ
1. FIFO หรือ First In First Out หมายถึง การจัดการสินค้าคงคลังที่เข้าคลังสินค้าก่อนก็หมุนเวียนออกไปก่อน
2. LIFO หรือ Last In First Out หมายถึง สินค้าที่เข้าคลังทีหลัง ให้ขายออกไปก่อน
โดย IFRS ไม่อนุญาตให้ใช้ LIFO
ขณะที่มาตรฐานของประเทศอื่นๆ ให้ใช้ได้อย่างอิสระทั้งสองรูปแบบ
สองระบบนี้ มีความแตกต่างทางวิธีการหลายจุด เช่น
- IFRS นั้นใช้กันแบบสากลทั่วโลก ในขณะที่ GAAP ถูกใช้ในสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก
- IFRS มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยกว่า เพื่อตอบสนองสภาพแวดล้อมทางการเงินที่ไม่หยุดนิ่ง ในขณะที่ GAAP นั้นมีความนิ่งกว่า และไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง
- GAAP อนุญาตให้ใช้ First in, First out (FIFO) และ Last in, First out (LIFO) สำหรับการจัดทำรายงานคลัง แต่ระบบ IFRS ประกาศห้ามใช้ LIFO โดยเด็ดขาด
แม้ปัจจุบัน สหรัฐอเมริกาก็ยังใช้ GAAP อยู่ ถึงแม้ว่าทั้งโลกจะใช้ IFRS แล้ว อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ของสหรัฐอเมริกา กำลังพิจารณาการเปลี่ยนมาใช้ IFRS ร่วมด้วย แต่ก็ยังไม่มีประกาศอย่างเป็นทางการออกมาว่าจะมีกำหนดการเริ่มใช้เมื่อไหร่
**********************************************************************************************************************************
บริการ MODULE AND FEATURE จาก Fusion Solution
- รับและจัดเก็บข้อมูล
- รับข้อมูลโดยวิธีถ่ายโอนข้อมูล หรือ โดยวิธี Import ข้อมูลจากไฟล์ประเภท .txt, .xls, .xlsx
- จัดเก็บข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณแบบจำลอง ECL Model และจากผลของการคำนวณการด้อยค่า และตั้งสำรอง
- การสร้างแบบจำลอง ECL Model
- แบ่งกลุ่มข้อมูล (Portfolio Segmentation)
- ผลตอบแทนเงินที่ได้รับชำระคืน (Recovery)
- หากลุ่มข้อมูลที่ผิดปกติ (Outlier) โดยใช้วิธีการทางสถิติ
- ประมาณการณ์เวลาตลอดอายุสัญญา (Timing)
- อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ปรับด้วยความเสี่ยงด้านเครดิต (CEIR)
- อัตราความสำเร็จของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
- คำนวณอัตราความสำเร็จของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
- อัตรา CEIR
- คำนวณอัตรา CEIR ตามประเภทลูกค้า
- การด้อยค่าเพื่อกันสำรอง
- คำนวณการด้อยค่าเพื่อกันสำรองตามประเภท หรือ กลุ่มของลูกค้า
- การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนแปลง
- นำแบบจำลอง ECL Model มาใช้กับลูกค้าคงเหลือในช่วงการเปลี่ยนแปลง
- Setting and Configuration
- ระบบมีความยืดหยุ่น ปรับเพิ่ม ลด ตัวแปรต่างๆ ที่ใช้ในการคำนวณแบบจำลอง ECL Model
- คำนวณการด้อยค่าเพื่อกันสำรองได้ โดยไม่ต้องปรับแก้ไขโปรแกรม