OpenAI คือ
กระแส ChatGPT น่าจะทำให้คนจำนวนมากเห็นแนวทางการทำงานร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ในรูปแบบต่างๆ ได้มากมาย โดยเฉพาะการใช้ปัญญาประดิษฐ์ช่วยเหลือเราในฐานะผู้ช่วยที่สามารถช่วยเราค้นคว้าเนื้อหาต่างๆ ปรับแต่งบทความ หรือแม้แต่โปรแกรมเมอร์ก็อาจจะใช้ Copilot ช่วยเขียนโค้ดทำให้เราสามารถทำงานได้เร็วขึ้น แต่การใช้งานเหล่านี้ก็มักใช้งานเหมือนปัญญาประดิษฐ์ทำหน้าที่ช่วยเหลือคนที่ทำงานอยู่เท่านั้น แต่ศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ในยุคใหม่เหล่านี้อาจจะสามารถทำหน้าที่แทนมนุษย์บางส่วนได้ทันที โดยเฉพาะในโลกธุรกิจที่มีการะบวนการทำงานอยู่หลายส่วน มีโปรเซสต่างๆ ที่ต้องอาศัยคนทำงานมาประมวลข้อมูล ตอบคำถามคนที่เกี่ยวข้อง
ทางไมโครซอฟท์และ Fusion Solutions ก็นำเสนอถึงแนวทางใช้งาน Azure OpenAI Service ซึ่งทำให้องค์กรสามารถใช้ API เพื่อเข้าถึงปัญญาประดิษฐ์ระดับเดียวกับ ChatGPT มาใช้งานในรูปแบบใหม่ๆ ที่จะปรับปรุงการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ, การวิเคราะห์ข้อมูล, หรือแม้แต่การฝึกฝนนักเรียนหรือพนักงาน
ทาง Fusion Solutions สาธิตแนวทางแรกคือการใช้ OpenAI ทำแชตบอทที่สามารถเข้าใจข้อมูลสินค้า โดยตอบกลับในชุดข้อมูลที่เรากำหนดเท่านั้น เช่น ตอบข้อมูลที่เกี่ยวกับร้านค้าของเรา โดยไม่พูดถึงสินค้าหรือบริษัทอื่นๆ ต่างจาก ChatGPT ปกติที่ตอบเรื่องทั่วไปโดยไม่มีข้อจำกัด
ความแตกต่างของ Azure OpenAI ที่ใช้ในการยิง API ตามปกติ กับ ChatGPT คือ OpenAI API นั้นไม่ได้มีความจำและเมื่อผู้ใช้ถามคำถามโดยอ้างถึงข้อความเก่าๆ ที่พูดคุยกันนั้นก็จะทำให้คำตอบผิดไป ทาง Fusion ระบุว่าสามารถทำ short-term memory ให้กับแชตบอทได้แล้ว และเมื่อใช้ OpenAI API ร่วมกับ API อื่นๆ ของไมโครซอฟท์ เช่น entity extaction ก็จะทำให้แชตบอทสามารถตอบคำถามได้ตรงประเด็นยิ่งขึ้น
รูปแบบการใช้งานต่อมาที่ Fusion Solutions เสนอคือการใช้ OpenAI API เป็นส่วนประกอบหนึ่งของระบบทำงานอัตโนมัติที่ใช้แทนการเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อน เช่น การที่ลูกค้าส่งอีเมลเข้ามาติดต่อบริษัท และเจ้าหน้าที่ต้องรายงานว่าอีเมลที่ลูกค้าติดต่อเข้ามานี้เป็นการติดต่อเรื่องอะไร ปัญญาประดิษฐ์สามารถจัดหมวดหมู่ได้อย่างแม่นยำว่าลูกค้ารายได้ติดต่อรูปแบบใดบ้าง เช่น ลูกค้าขอโปรไฟล์บริษัท, ขอนัดประชุม, หรือถามคำถามอื่นๆ ข้อมูลที่ได้นี้สามารถนำไปประมวลผลต่อเพื่อสร้างโมเดลจัดลำดับความน่าจะเป็นว่าลูกค้ารายใดน่าจะกำลังเตรียมซื้อสินค้า
รูปแบบนี้สามารถใช้ร่วมกับบริการปัญญาประดิษฐ์อื่นๆ เช่น การแปลงเสียงเป็นข้อความ (Speech-to-Text) เพื่อนำข้อมูลเสียงมาประมวลรูปแบบเดียวกันนอกเหนือจากอีเมลที่เป็นข้อความอยู่แล้ว ทำให้เราสามารถประมวลข้อมูลโทรศัพท์หรือ call center ต่างๆ ได้ด้วยเพื่อหาข้อมูลเชิงธุรกิจ (business intelligence) จากข้อมูลที่องค์กรมีอยู่แล้ว
การทำงานอีกรูปแบบหนึ่งคือใช้ OpenAI API เปลี่ยนคำถามตอบจากข้อความที่พนักงานเคยถามตอบกับลูกค้าไว้ก่อนแล้ว ทำให้สามารถสร้างชุดข้อมูลคำถามตอบขนาดใหญ่ได้ในเวลาอันสั้น เปิดทางสำหรับการฝึกแชตบอทที่จะทำงานได้ระดับเดียวกับมนุษย์มากยิ่งขึ้น
ทดสอบการใช้งาน OpenAI API – ChatGPT ได้ที่ Line โดย Scan QR ด้านล่าง
การจัดการความรู้ในองค์กรเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มีความท้าทาย องค์กรมักมีเอกสารภายในที่เป็นประสบการณ์ของคนในองค์กรต่อเนื่องกันมาแต่ไม่สามารถนำข้อมูลเหล่านี้กลับมาใช้งานได้เพราะเอกสารเยอะเกินไป ความรู้เหล่านี้เป็นเอกสารเฉพาะทางที่ปัญญาประดิษฐ์ทั่วไปอย่าง ChatGPT ไม่เคยเห็นข้อมูลทำให้ไม่สามารถตอบคำถามเฉพาะได้ ทาง Fusion Solutions อาศัยฟีเจอร์ Embeddings ที่สามารถแปลงเอกสารออกมาเป็น vector และเมื่อผู้ใช้ถามคำถามต่างๆ ก็จะสามารถค้นหาเอกสารที่เกี่ยวข้องออกมาได้อย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นสามารถนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องนี้ใส่เข้าไปยังปัญญาประดิษฐ์
การใช้ Embedding เพื่อแยกเอกสารจำนวนมาก เปิดทางให้ แชตบอทที่ปกติ OpenAI API มีข้อจำกัดไม่สามารถใส่ข้อมูลลงไปพร้อมกับคำถามได้มากนัก สามารถค้นเอาเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาประมวลผล และตอบคำถามที่ซับซ้อนโดยมีเอกสารอ้างอิงข้อมูลให้ปัญญาประดิษฐ์สามารถดูก่อนจะสรุปคำตอบได้เสมอ แนวทางนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถคุยกับแชตบอทได้อย่างเป็นธรรมชาติแต่สามารถค้นหาข้อมูลเฉพาะในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพไปพร้อมๆ กัน
การสร้างแพลตฟอร์มเพื่อการศึกษา เนื่องจาก ChatGPT สามารถคุยได้อย่างเป็นธรรมชาติ เมื่อใช้งานร่วมกับปัญญาประดิษฐ์สำหรับแปลงเสียง เป็นข้อความ (speech-to-text) และแปลงข้อความเป็นเสียง (text-to-speech) ก็จะเหมือนมีครูสอนภาษาที่สามารถพูดคุยได้แทบทุกเรื่อง ทาง Fusion Solutions ทดลองสร้างแอปพลิเคชั่นทดสอบ และนำไปลองให้เด็กๆ พูดคุยพบว่าดึงความสนใจเด็กๆ ได้ดี
จากแนวทางทั้งหมดน่าจะทำให้เห็นได้ว่า กระแส ChatGPT นั้นจะไม่หยุดอยู่แค่การใช้งานส่วนบุคคลเท่านั้นแต่ปัญญาประดิษฐ์ที่เข้าใจภาษามนุษย์จะช่วยเปิดแนวทางการทำงานระหว่างมนุษย์ร่วมกับคอมพิวเตอร์ในรูปแบบใหม่ๆ อย่างรวดเร็ว สำหรับผู้สนใจนำปัญญาประดิษฐ์ มาปรับปรุงกระบวนการทำงานในองค์กรติดต่อ Fusion Solution ติดต่อได้ที่เบอร์ 02-440-0408 หรืออีเมล์ sales@fusionsol.com หรือเข้าไปที่ Line: @fusionsolution
ใช้ ChatGPT ในองค์กร ผ่าน MS Team
Fusion มีบริการ Config GPT สำหรับใช้ภายในองค์กร ภายใต้ Azure Service มั่นใจได้ 100 % ว่าข้อมูลที่คุยกับระบบ GPT จะไม่ถูกนำออกไปใช้ภายนอกบริษัท
รายละเอียดการให้บริการ
- เปิด Service Cognitive Service ( 4.0)
- Connect MS Team
- Short memory
- Security Config
- log history เก็บข้อมูลการคุยในรูปแบบ Database
ใช้เวลา Config หลังจากเปิด Service เรียบร้อยภายใน 2 วัน สามารถควบคุมงบประมาณได้ 100 %
Security Detail https://learn.microsoft.com/…/cogni…/openai/data-privacy
Reference ChatGPT
เปิด Service กับ Azure เราสามารถเปิดใช้บริการได้บน Azure ก็ได้ซึ่งจะเป็นการให้บริการเหมือนเช่าใช้ Azure ปกติ โดยเป็นการทำสัญญากับ Fusion ทาง Fusion จะเป็นผู้สรุปค่าใช้จ่ายแบบรายเดือนและวางบิลค่าใช้จ่าย เหมือนกับค่าน้ำค่าไฟ ที่เราจ่ายเท่าที่เราใช้ไป
นอกจากเราจะใช้ตัว Azure เองยังมีบริการอีกหรือรูปแบบที่เป็นข้อได้เปรียบ เราสามารถเชื่อมต่อบริการต่างๆ ให้ทำงานประสานกันเป็นเนื้อเดียว เช่น ถ้า OpenAI เป็นสมอง เราก็เชื่อมต่อไปที่ Azure Function เพื่อเป็นแขนขาการทำงานได้อีกด้วย
Pricing details Language models
Models | Per 1,000 tokens |
---|---|
Standard | |
Text-Ada | $0.0004 |
Text-Babbage | $0.0005 |
Text-Curie | $0.002 |
Text-Davinci | $0.02 |
Code-Cushman | $0.024 |
Code-Davinci | $0.10 |
ChatGPT (gpt-3.5-turbo) | N/A |
Service อื่นๆ ของ Azure Cognitive Service
Azure Cognitive Services เป็นชุดบริการที่ให้ความสามารถในการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) และ Computer Vision โดยอัตโนมัติ บริการที่มีอยู่ใน Azure Cognitive Services ปัจจุบันได้แก่
- Text Analytics: บริการวิเคราะห์ข้อความเพื่อหาคำตอบหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์
- Translator: บริการแปลภาษาอัตโนมัติ
- Speech Services: บริการแปลงเสียงเป็นข้อความและแปลงข้อความเป็นเสียง
- Computer Vision: บริการวิเคราะห์ภาพและวิดีโอเพื่อตรวจสอบ, จดจำ, และวิเคราะห์ข้อมูล
- Custom Vision: บริการสร้างและฝึกโมเดล AI เพื่อใช้ในการจดจำภาพและการวิเคราะห์ภาพ
- Form Recognizer: บริการวิเคราะห์และจดจำข้อมูลจากแบบฟอร์ม
- Anomaly Detector: บริการตรวจจับความผิดปกติในข้อมูล
- Content Moderator: บริการตรวจสอบและกรองเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม
- QnA Maker: บริการสร้างและจัดการคำถามและคำตอบอัตโนมัติ
- Personalizer: บริการแนะนำเนื้อหาและปรับแต่งประสบการณ์ผู้ใช้
- Metrics Advisor: บริการวิเคราะห์และตรวจสอบข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจ
- Immersive Reader: บริการช่วยในการอ่านและเข้าใจข้อความ
- Bing Search: บริการค้นหาข้อมูลในเว็บ
- Azure Bot Service: บริการสร้างและจัดการ Chatbot อัตโนมัติ
- Azure Databricks: บริการวิเคราะห์ข้อมูลและ Machine Learning โดยใช้ Apache Spark
โดยบริการเหล่านี้สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชันและโปรแกรมต่างๆ ที่มีการใช้งาน AI และ Machine Learning ได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องมีความเชี่ยวชาญในด้านนี้มาก่อน